วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2554

ความเห็นจากกลุ่มนิติราษฎร์ต่อคดี112

อ.สาวตรี สุขศรี หนึ่งในกลุ่มนิติราษฎร์ นิติศาสตร์เพื่อราษฎร์ได้แสดงความคิดเห็นหลังการตัดสินคดีของนายธันย์ฐวุฒิ ทวีวโรดมกุล จำเลยคดีหมิ่นเบื้องสูงตามมาตรา112และมาตรา14(3)ของพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 โทษจำคุกถึง13ปีว่า


ผลของคดีนี้ตัดสินจำคุกสูงมาก มีข้อสังเกตดังนี้ 1. ต้องถือเป็นคำพิพากษาที่ “สวน” กระแสคำพิพากษาอื่นที่เกี่ยวกับ 112 และ พรบ. คอมฯ ในช่วงที่ผ่านมา 2-3 คดีที่ยกฟ้องหรือเลื่อนยาว 2.ไม่แน่ใจว่ากิดอะไรขึ้น แต่ข้อเท็จจริง (ในทางเทคนิค) ก็คือ การจะสืบว่าใครเป็นแอดมินที่แท้จริง หรือใครโพสในเว็บ นปช.ยูเอสเอ สืบให้สิ้นสงสัยยากมากเอาเข้าจริง คำว่า admin ในเว็บสมัยใหม่ใครก็เขียน หรือตั้งได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลักษณะของ เว็บนี้ มีลักษณะการทำงานเป็นแบบนั้น ตรงนี้สำคัญก็คือ การแก้ต่างของจำเลย


อย่างไรก็ตาม เหตุผลของศาลชี้ว่า

“จำเลยไม่ได้นำสืบว่าหมายเลขไอพีแอดเดรสดังกล่าวไม่ได้เป็นของจำเลย และเมื่อมีชื่อในระบบว่า admin แล้วจะไม่สามารถตั้งซ้ำได้ ประกอบกับจำเลยพยายามเข้าเว็บไซต์ด้วยระบบ FTP จึงเชื่อว่าจำเลยเป็นผู้กระทำผิดจริง แม้ว่าบันทึกจราจรคอมพิวเตอร์จะเป็นบันทึกคนละวันและเวลากับข้อความที่ปรากฏ ก็ตาม ศาลตัดสินว่ามีความผิดจำคุก 13 ปี”


ตรงนี้น่าสนใจมาก ในทางกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หลักสำคัญที่สุดในทางกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาก็คือ

1. ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลย หรือผู้ต้องหาเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่จนกว่าศาลจะพิพากษาว่ามีความผิด


2. สืบเนื่องจากข้อ 1 นั่นหมายความว่า ผู้มีภาระการพิสูจน์ ให้ศาลสิ้นสงสัย คือ “โจทก์” ไม่ใช่ “จำเลย”
แต่จากเหตุผลของศาลนี้…เขียนทำนองว่า จำเลยไม่ยอมพิสูจน์…. แสดงว่า ศาลหันมาให้น้ำหนักกับการแก้ต่างของ “จำเลย” มากกว่า การพิสูจน์โดย “โจทก์” ซึ่งไม่น่าจะถูกต้องตามหลักปกติ คดีความที่เกี่ยวกับเรื่องทางเทคนิคมาก ๆ แบบนี้ คนที่หนักคือโจทก์อยู่แล้ว ถ้าไม่มีปัญหาอะไร ศาลมักต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย คือ ยกฟ้อง….คำถามเรื่องนี้จึงมีว่า


1. โจทก์สืบยังไงหรือ ศาลถึงสิ้นสงสัย ? (ทั้งที่ ในเหตุผล ก็ยังแสดงให้เห็นถึงความสงสัยอยู่)


2. ฝ่ายจำเลยได้พยายามทำลายน้ำหนักของโจทก์ เพียงพอหรือไม่ อย่างไร ?


สุดท้าย โทษคดีนี้สูงมาก อย่างไม่น่าเชื่อ !


ได้วัตถุดิบพูดในงานนิติราษฏร์ อีกแล้ว”


เครดิต Sawatree Suksri


ที่มา : สำนักกฎหมายราษฎรประสงค์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น