วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

"กลุ่ม article 112" ออกแถลงการณ์กรณี "สมยศ" ค้านใช้กฎหมายหมิ่นฯ คุกคามประชาชน

เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม  "กลุ่ม มาตรา 112: รณรงค์เพื่อการตื่นรู้" ได้ออกแถลงการณ์กรณีการจับกุมนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข พร้อมมีผู้ร่วมลงชื่อแนบท้ายจำนวน 112 คน แถลงการณ์ดังกล่าวมีเนื้อหา ดังนี้


แถลงการณ์: คัดค้านการคุกคามสิทธิเสรีภาพประชาชนด้วย "กฎหมายหมิ่นฯ"  (กรณีล่าสุด สมยศ พฤกษาเกษมสุข)


นับแต่รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา มีผู้ได้รับผลกระทบจากประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 หรือ "กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ" ทั้งทางตรงและทางอ้อมเป็นจำนวนมาก เฉพาะในช่วงตั้งแต่ปี 2548 - 2552 สถิติของคดีเหล่านี้มีมากถึง 547 คดี โดยศาลมีคำตัดสินว่าเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพแล้วจำนวน 247 คดี และล่าสุดในเดือนเมษายน 2554 เพียงเดือนเดียว ได้มีการใช้กฎหมายนี้กับประชาชนในหลายกรณี โดยเท่าที่ปรากฏเป็นรายงานข่าวคือ
 

การคุกคามสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของ ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล จากกรณีการอภิปรายสาธารณะเกี่ยวกับบทบาทของสถาบันกษัตริย์ในสังคมไทย ซึ่งได้มีการแถลงข่าวเปิดเผยเรื่องนี้เมื่อวันที่ 24 เมษายน ที่ผ่านมา
 

27 เมษายน ตำรวจกองปราบฯ ได้เรียกธนาพล อิ๋วสกุล บรรณาธิการนิตยสารฟ้าเดียวกัน เข้าให้ปากคำในฐานะพยาน กรณีมีผู้ฟ้องว่าข้อความในเว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน (ปัจจุบันปิดไปแล้ว) อาจเข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดยระบุนามแฝงของผู้โพสต์ เจ้าของกระทู้ และผู้แสดงความเห็นในกระทู้ที่มีข้อความเข้าข่ายดังกล่าว จำนวน 54 รายชื่อ จาก 46 ยูอาร์แอล (URL)
 

วันเดียวกัน ได้มีรายงานข่าวการพิจารณาคดีลับที่ศาลทหาร กรุงเทพฯ กับนายทหารอากาศยศนาวาอากาศตรีซึ่งถูกกองทัพอากาศแจ้งความดำเนินคดี จากกรณีที่มีการร้องเรียนว่าทหารอากาศนายนี้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก (Facebook) ของตนที่อาจเข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
 

ล่าสุด วันที่ 30 เมษายน ได้มีการจับกุมตัวสมยศ พฤกษาเกษมสุข นักกิจกรรมด้านแรงงาน แกนนำกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย และบรรณาธิการบริหารนิตยสาร วอยซ์ ออฟ ทักษิณ ในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดยกรมสืบสวนคดีพิเศษ (DSI) บริเวณด่านตรวจคนเข้าเมืองอรัญประเทศ โดยไม่ให้ประกันตัวใดๆ
 

นอกจากความกังวลต่อการเพิ่มขึ้นของคดีตามมาตรานี้ ที่มีอัตราโทษสูงแต่ขาดแนวปฏิบัติที่ชัดเจน ให้อำนาจการฟ้องร้องอย่างกว้างขวาง ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองของกลุ่มอำนาจบางกลุ่ม และสร้างบรรยากาศแห่งความหวาดกลัวซึ่งกระทบต่อการใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดง ความเห็นตามระบอบประชาธิปไตยแล้ว กลุ่ม "มาตรา 112: รณรงค์เพื่อความตื่นรู้" ยังมีความกังวลต่อวิธีการบังคับใช้กฎหมายทั้งในช่วงก่อน ระหว่าง และหลังการไต่สวนคดี อีกด้วย
 

อาทิ การพิจารณาคดีลับ ซึ่งเป็นข้อยกเว้นอย่างเข้มงวดตามกฎหมายสูงสุดที่มีอยู่ โดยก่อนหน้ากรณีนายทหารอากาศ ก็ได้มีการใช้ในคดีที่ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล หรือ "ดา ตอร์ปิโด" เป็นจำเลย จนต่อมาศาลอุทธรณ์ก็ได้ยกคำสั่งลงโทษและให้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาว่าขัดต่อข้อบัญญัติตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ ส่วนกรณีของดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล รวมถึงผู้โพสต์ข้อความในเว็บบอร์ดฟ้าเดียวกันนั้น ซึ่งเข้าข่ายคุกคามสิทธิเสรีภาพในการแสดงความเห็น และล่าสุด กรณีการจับกุมสมยศ พฤกษาเกษมสุข ซึ่งถูกคัดค้านการให้ประกันตัว โดยอ้างว่าเกรงจำเลยจะหลบหนีหรือไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน ทั้งที่หมายจับในคดีนี้ออกมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ และผู้ถูกกล่าวหาก็ไม่เคยแสดงท่าทีว่าจะหลบหนีแต่อย่างใด

กลุ่ม "มาตรา 112: รณรงค์เพื่อความตื่นรู้" จึงมีความเห็นและข้อเรียกร้องดังต่อไปนี้
 

1. หยุดใช้มาตรา 112 คุกคามสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการดำเนินชีวิตตามปรกติ สร้างบรรยากาศความหวาดกลัวเพื่อควบคุมประชาชน ซึ่งขัดกับหลักสิทธิเสรีภาพในสังคมประชาธิปไตย นอกจากนี้การบังคับใช้กฎหมายพิเศษ เช่น กฎหมายความมั่นคง เพื่อปราบปรามความเห็นต่าง นอกจากจะหมิ่นเหม่ที่จะขัดต่อข้อบัญญัติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 29 ที่ห้ามการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ โดยให้ทำได้ "เท่าที่จำเป็น และจะกระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพนั้นมิได้" แล้ว ยังขัดกับหลักกฎหมายสากล เช่น ข้อ 19 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights-ICCPR) ที่คุ้มครองสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงความเห็นด้วย
 

ทั้งนี้ รัฐพึงมีหน้าที่ปฏิบัติตามข้อบัญญัติในรัฐธรรมนูญ ที่จะส่งเสริมสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงความเห็น มิใช่ใช้ช่องว่างของกฎหมายในการดำเนินคดีมาสร้างบรรยากาศแห่งความหวาดกลัว แก่ประชาชน อย่างที่เป็นอยู่
 

2. ในภาวะที่ยังคงกฎหมายนี้โดยไม่มีการปรับปรุงแก้ไข ควรเปิดเผยกระบวนการสืบสวนสอบสวนและพิจารณาคดีที่เกี่ยวเนื่องให้สาธารณชน รับทราบ และควรมีการออกหมายเรียกก่อนตามกระบวนการดำเนินคดีปรกติ แทนการออกหมายจับหรือเข้าจับกุมทันที
 

3. การพิจารณาคดีลับพึงเป็นข้อยกเว้นอย่างเข้มงวด ไม่ควรอ้างเหตุจำเป็นต้องใช้อย่างพร่ำเพรื่อ อย่างที่มักอ้างว่า “ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี” ซึ่งเป็นข้ออ้างที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้อย่างชัดเจน
 

4. การปฏิบัติตามกระบวนการอันควรตามกฎหมาย (due process) เป็นพื้นฐานนำไปสู่ความรู้สึกที่เป็นธรรมทั้งของผู้ถูกกล่าวหาและสังคมทั่ว ไป แต่ที่ผ่านมาและที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ผู้ถูกกล่าวหาในคดีหมิ่นฯ มักถูกหน่วยงานรัฐคัดค้านการประกันตัวหรือปล่อยตัวชั่วคราว โดยมักอ้างว่าเป็นคดีที่มีอัตราโทษสูง ผู้ถูกกล่าวหาจะหลบหนีและ/หรือยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน ดังนั้น ทางกลุ่มฯ จึงขอเรียกร้องให้ศาลพิจารณากรณีเหล่านี้อย่างรอบคอบ โดยคำนึงถึงหลักการขั้นต้นเป็นสำคัญ

1 พฤษภาคม 2554
 

กลุ่ม "มาตรา 112: รณรงค์เพื่อความตื่นรู้" (Article 112 Awareness Campaign)
และผู้ที่เห็นด้วยกับแถลงการณ์ข้างต้น ดังรายชื่อต่อไปนี้:


1.      ขวัญระวี วังอุดม
2.      พัชรี อังกูรทัศนียรัตน์
3.      วิรพา อังกูรทัศนียรัตน์
4.      กานต์ ทัศนภักดิ์
5.      นภัทร สาเศียร
6.      พันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ
7.      เก่งกิจ กิติเรียงลาภ
8.      จีรนุช เปรมชัยพร
9.      อธิคม จีระไพโรจน์กุล
10.    พรเทพ สงวนถ้อย
11.    ภัควดี วีระภาสพงษ์
12.    อนุสรณ์ อุณโณ
13.    ‎ชลิตา บัณฑุวงศ์
14.    สุลักษณ์ หลำอุบล
15.    อัญชลี มณีโรจน์
16.    เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร
17.    อดิศร เกิดมงคล
18.    นิธินันท์ ยอแสงรัตน์
19.    พัชรี แซ่เอี้ยว
20.    ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์
21.    นิพาดา ทองคำแท้
22.    ปราบ เลาหะโรจนพันธ์
23.    ปกป้อง เลาวัณย์ศิริ
24.    วิจักขณ์ พานิช
25.    ฉันทลักษณ์ รักษาอยู่
26.    พิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ
27.    ชัยธวัช ตุลาธน
28.    วันรัก สุวรรณวัฒนา
29.    ไชยันต์ รัชชกูล
30.    เตือนสิริ ศรีนอก
31.    ศรีสมร กิจภู่สวัสดิ์
32.    ‎ดวงฤทัย เอสะนาชาตัง
33.    ภาณุ บุญพิพัฒนาพงศ์
34.    พิภพ อุดมอิทธิพงศ์
35.    ศราวุฒิ ประทุมราช
36.    สิริลักษณ์ ศรีประสิทธิ์
37.    ประวิตร โรจนพฤกษ์
38.    สุภิตา เจริญวัฒนมงคล
39.    รวินทร์ คำโพธิ์ทอง
40.    อังคณา นีละไพจิตร
41.    สุธารี วรรณศิริ
42.    ลักขณา ปันวิชัย
43.    สุขุม ชีวาเกียรติยิ่งยง
44.    เวียงรัฐ เนติโพธิ์
45.    รจเรข วัฒนพาณิชย์
46.    เอกฤทธิ์ พนเจริญสวัสดิ์
47.    เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว
48.    จิตรา คชเดช
49.    วิภา มัจฉาชาติ
50.    เนติ วิเชียรแสน
51.    ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข
52.    ธนาพล อิ๋วสกุล
53.    มานา ชุณห์สุทธิวัฒน์
54.    วธู ชุณห์สุทธิวัฒน์
55.    กฤตวิทย์ หริมเทพาธิป
56.    ธิดา ผลิตผลการพิมพ์
57.    วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง
58.    ปนิธิตา เกียรติ์สุพิมล
59.    สุวิทย์ เลิศไกรเมธี
60.    จิราพร กิจประยูร
61.    สุริยะ ครุฑพันธุ์
62.    อภิณัฐ ภู่ก๋ง
63.    ดิน บัวแดง
64.    อาทิตย์ เจียมรัตตัญญู
65.    ณัฐนพ พลาหาญ
66.    อภิวัฒน์ แสงพัทธสีมา
67.    เยาวลักษ์ อนุพันธุ์
68.    อุเชนทร์ เชียงเสน
69.    กฤดิกร วงศ์สว่างพานิช
70.    ชุมาพร แต่งเกลี้ยง
71.    เทวฤทธิ์ มณีฉาย
72.    ดวงใจ พวงแก้ว
73.    ธีระพล คุ้มทรัพย์
74.    ไชยวัฒน์ ตระการรัตน์สันติ
75.    ตากวาง สุขเกษม
76.    สุดา รังกุพันธุ์
77.    เทพฤทธิ์ ภาษี
78.    คมลักษณ์ ไชยยะ
79.    เกียรติศักดิ์ ม่วงมิตร
80.    ธีรวรรณ บุญญวรรณ
81.    ปรัชญา สุรกำจรโรจน์
82.    ปุณณวิชญ์ เทศนา
83.    ธัญสก พันสิทธิวรกุล
84.    อาทิตย์ ศิวะหรรษาพันธ์
85.    วิภาวดี พันธุ์ยางน้อย
86.    อาทิชา วงเวียน
87.    ดวงทิพย์ ฆารฤทธิ์
88.    พวงทอง ภวัครพันธุ์
89.    จอน อึ๊งภากรณ์
90.    สมฤดี วินิจจะกูล
91.    ตฤณ ไอยะรา
92.    นิรมล ยุวนบุณย์
93.    ธนศักดิ์ สายจำปา
94.    นันทา เบญจศิลารักษ์
95.    สุรชัย เพชรแสงโรจน์
96.    ศราวุธ ดรุณวัติ
97.    สรวุฒิ วงศ์ศรานนท์
98.    แดนทอง บรีน
99.    ประทับจิต นีละไพจิตร
100.  สุชา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
101.  ทองธัช เทพารักษ์
102.  กิตติเดช บัวศรี
103.  ธิติ มีแต้ม
104.  หทัยกานต์ สังขชาติ
105.  ธีรมล บัวงาม
106.  นาถรพี วงศ์แสงจันทร์
107.  วิทยา พันธ์พานิชย์
108.  Tyrell Haberkorn
109.  นพพร พรหมขัติแก้ว
110.  ศรวิษฐ์ โตวิวิชญ์
111. ‎ จรินพร เรืองสมบูรณ์
112.  ศรายุธ ตั้งประเสริฐ



ที่มา : มติชนออนไลน์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น