ขณะนี้นักเศรษฐศาสตร์จำนวนหนึ่งคิดอย่างไรกับปัญหาการกระจายทรัพย์สิน หรือการกระจุกตัวอย่างสูงในหลายประเทศ บางสังคมจัดการกับพลวัตนี้อย่างไร
ทำไมพูดเรื่องนี้ ปัญหาการกระจุกตัวของทรัพย์สินที่เกิดขึ้น อยากชี้ว่าสำคัญอย่างไร เรื่องทรัพย์สินกับรายได้เป็นเรื่องแยกกัน รายได้เป็นการแสดงมาตรฐานการครองชีพ แต่ทรัพย์สินเป็นตัวสะท้อนความมั่งคั่ง ซึ่งรวมทั้งบ้าน ที่ดิน การเป็นเจ้าของหุ้น เงินสดในธนาคาร ภาพเขียน รถ ราคาแพง ฯลฯ ในแง่เศรษฐศาสตร์ ถ้าพูดถึงความร่ำรวย รายได้บอกไม่หมด ถ้ารวยจริงต้องดูที่ทรัพย์สิน
สิ่งที่สนใจคือ ทำไมเป็นปัญหา บางประเทศจัดการกับปัญหานี้อย่างไร แต่ไม่ได้หมายความว่าถ้าแก้ได้ ปัญหาจะหมดไป การอภิปรายในบรรดานักเศรษฐศาสตร์ระดับโลกกำลังสนใจปัญหานี้
แบ่งการพูดเป็น 4 เรื่อง 1.นานาชาติอภิปรายเรื่องนี้อย่างไร 2.สภาพในเมืองไทย 3.พลวัตของประเทศเกาหลี 4.สรุป
1.มิตินานาชาติ
ดิอิโคโนมิสท์ นิตยสารกระบอกเสียงนักธุรกิจ อนุรักษนิยมมาก เมื่อเดือนเมษายนปีนี้มีบทความกล่าวว่า ผลได้ของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเกือบทั้งหมด กระจายสู่กระเป๋าเจ้าของทุน ไม่ใช่ผู้ใช้แรงงาน ซึ่งเป็นเรื่องจริง ดูจากสถิติในโลก พบว่า ความไม่เท่าเทียมกันเป็นปัญหาที่เกิดทั่วโลก สถิติชี้ว่าสัดส่วนกำไรในรายได้ประชาชาติแทบทุกประเทศหลังปี 2551 สูงขึ้น แต่สัดส่วนของค่าจ้างกลับลดลง
ดิอิโคโนมิสท์ นิตยสารกระบอกเสียงนักธุรกิจ อนุรักษนิยมมาก เมื่อเดือนเมษายนปีนี้มีบทความกล่าวว่า ผลได้ของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเกือบทั้งหมด กระจายสู่กระเป๋าเจ้าของทุน ไม่ใช่ผู้ใช้แรงงาน ซึ่งเป็นเรื่องจริง ดูจากสถิติในโลก พบว่า ความไม่เท่าเทียมกันเป็นปัญหาที่เกิดทั่วโลก สถิติชี้ว่าสัดส่วนกำไรในรายได้ประชาชาติแทบทุกประเทศหลังปี 2551 สูงขึ้น แต่สัดส่วนของค่าจ้างกลับลดลง
OECD แนวโน้มเช่นนี้เกิดตั้งแต่ 2543 ในอเมริกา ย้อนไปได้ถึง 2516 ดิอิโคโนมิสท์ระบุว่า สาเหตุของการกระจุกตัวเกิดขึ้นเพราะการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี กระบวนการผลิตทำสินค้าได้จำนวนมากโดยไม่ต้องเพิ่มคนงาน เผลอๆ ก็ลดคนงาน, ขณะที่ประสิทธิภาพของคนทำงานสูงขึ้น ทำให้รายได้เพิ่มขึ้น ปรากฏว่าส่วนที่เพิ่ม ผู้ที่เป็นเจ้าของทุนเก็บรวบเป็นส่วนใหญ่, แรงต่อรองของแรงงานที่ลดลงเนื่องจากการเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานมีแนวโน้มลดลง รัฐบาลประเทศต่างๆ พยายามกดสหภาพแรงงาน บริษัทข้ามชาติผลักดันไม่ให้มีสหภาพแรงงาน
น่าสนใจว่า ดิอิโคโนมิสท์ ตัวแทนนักธุรกิจ วิจารณ์ว่ามีการใช้นโยบายเสรีนิยมที่เป็นผลเสียกับการกระจายรายได้ เช่น การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การมีระบบตลาดที่ยืดหยุ่นมากขึ้น บริษัทข้ามชาติมีอิทธิพลกับนโยบายประเทศต่างๆ
ตัวร้ายของโลกขณะนี้เป็นบริษัทไฟแนนซ์ยักษ์ใหญ่ต่างๆ มีพฤติกรรมประหนึ่งมาเฟียคอยคุมรัฐบาลให้ดำเนินนโยบายที่เป็นประโยชน์กับสถาบันการเงิน ถ้าไม่ยอมทำตามอาจถูกขู่ถอนเงินออกไป โดยเฉพาะให้รัฐบาลดำเนินนโยบายทางการเงินที่ส่งประโยชน์ให้บริษัทเหล่านี้ และยอมให้บริษัทเหล่านี้ให้รายได้สูงกับผู้บริหารจนน่าเกลียด
ปีที่แล้ว เซาท์เปาโล มีการประชุมนักเศรษฐศาสตร์ระดับโลก ออกแถลงการณ์ 10 ข้อ ข้อหนึ่ง ทั่วโลกรายได้คนงานลดลง แต่กำไรนายทุนเพิ่ม ความมั่งคั่งกระจุกตัวสูงขึ้นทั่วโลก และนำสู่ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองทั่วโลก ทั้งนี้ มีข้อเสนอแก้ไข คือ 1.ให้รัฐบาลประกันการมีงานทำ มีระดับรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ ศาสตราจารย์ ยู ชอ ผัก เขียนงานให้ Asian Development Bank (ADB) พูดถึงความจำเป็นที่ประเทศในเอเชียตะวันออกต้องปรับยุทธศาสตร์การพัฒนา ปรับเศรษฐกิจให้สมดุล คิดใหม่เกี่ยวกับการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่ประเทศในเอเชียตะวันออกดำเนินมาในช่วง 2-3 ทศวรรษ ให้ปรับเป็นการเพิ่มการลงทุนของภาคเอกชนในประเทศ และการบริโภคของผู้คนในประเทศ ด้วยวิธีการที่รัฐบาลต้องเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการจัดการให้มีระบบสวัสดิการ และการประกันสังคมต่างๆ เช่น การศึกษาฟรี สาธารณสุขทั่วถึง รายได้หลังเกษียณ รวมถึงการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม
ธนาคารเพื่อการพัฒนาในเอเชียเคยยอมรับอุดมการณ์เสรีนิยมใหม่ ขณะนี้นักเศรษฐศาสตร์เสนอว่าแทนที่จะดำเนินแนวทางเสรีนิยมใหม่ ต้องคิดถึงรัฐ พัฒนา delovelopmentalism รัฐต้องมีบทบาทในการจัดระบบสวัสดิการสังคม TDRI ในเมืองไทย นักเศรษฐศาสตร์ก็กำลังพูดถึง Rebalancing Strategies อย่างไรก็ตาม เรื่องสวัสดิการสังคมพูดง่าย แต่จะหาเงินมาใช้จ่ายในโครงการได้อย่างไร
รัฐบาลมีรายได้หลักจากภาษี
-ภาษีนิติบุคคล ขณะนี้รายได้ธุรกิจมีแนวโน้มลดลงในหลายประเทศ เพราะนักธุรกิจมีแรงต่อรองกับรัฐบาลต่างๆ มาก และทุกประเทศต้องพึ่งการลงทุนของบริษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่ ซึ่งสามารถเคลื่อนย้ายลงทุนได้ทั่วโลก
-ภาษีรายได้ส่วนบุคคล ในประเทศพัฒนาแล้ว ภาษีนี้เป็นสัดส่วนสูง แต่กับไทยนั้นน้อย มีข้อถกเถียงว่าถ้าเก็บตรงนี้เยอะจะทำให้แรงจูงใจทำงานลดลง
-ภาษีมูลค่าเพิ่ม หลายประเทศเพิ่มส่วนนี้ เช่น นอร์เวย์ 17%
-ภาษีสินค้าเข้าออก เคยสำคัญ แต่หมดความสำคัญเรื่อยๆ เพราะการเปิดการค้าเสรี (FTA)
-ภาษีทรัพย์สิน เป็นสิ่งน่าสนใจ เพราะทรัพย์สินที่สำคัญมากคือที่ดิน บริษัทอาจย้ายเงินทุนได้แต่ที่ดินย้ายไม่ได้ รัฐบาลสามารถหาประโยชน์ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย
-ภาษีนิติบุคคล ขณะนี้รายได้ธุรกิจมีแนวโน้มลดลงในหลายประเทศ เพราะนักธุรกิจมีแรงต่อรองกับรัฐบาลต่างๆ มาก และทุกประเทศต้องพึ่งการลงทุนของบริษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่ ซึ่งสามารถเคลื่อนย้ายลงทุนได้ทั่วโลก
-ภาษีรายได้ส่วนบุคคล ในประเทศพัฒนาแล้ว ภาษีนี้เป็นสัดส่วนสูง แต่กับไทยนั้นน้อย มีข้อถกเถียงว่าถ้าเก็บตรงนี้เยอะจะทำให้แรงจูงใจทำงานลดลง
-ภาษีมูลค่าเพิ่ม หลายประเทศเพิ่มส่วนนี้ เช่น นอร์เวย์ 17%
-ภาษีสินค้าเข้าออก เคยสำคัญ แต่หมดความสำคัญเรื่อยๆ เพราะการเปิดการค้าเสรี (FTA)
-ภาษีทรัพย์สิน เป็นสิ่งน่าสนใจ เพราะทรัพย์สินที่สำคัญมากคือที่ดิน บริษัทอาจย้ายเงินทุนได้แต่ที่ดินย้ายไม่ได้ รัฐบาลสามารถหาประโยชน์ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย
นักเศรษฐศาสตร์ฝรั่งเศสในศตวรรษที่ 17 บอกว่ารัฐบาลอยู่ได้โดยไม่ต้องเก็บภาษีใดเลย ถ้าบริหารภาษีที่ดินดีๆ ในยุโรปและอเมริกา ภาษีที่ดินเคยมีบทบาทลดลงแต่เริ่มมีมากขึ้นแล้วในระยะนี้
ดังนั้นแล้ว ยุทธศาสตร์ที่รัฐบาลต้องพิจารณาคือ การหาประโยชน์จากทรัพย์สินและที่ดินเป็นแหล่งรายได้มาใช้แก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมกัน โดยการจัดหาสินค้าสาธารณะสวัสดิการ
2.เมืองไทยสถานการณ์เป็นอย่างไร
ตั้งแต่ปี 2549 สำนักงานสถิติแห่งชาติเก็บสถิติทรัพย์สินในเมืองไทย แบ่งกลุ่มเป็นครัวเรือน 4 กลุ่ม มีทรัพย์สินน้อยสุด – มากสุด กลุ่มละ 10% พบว่า 10% รวยสุด กับ 10% จนสุด มีความต่าง 69 เท่า, รวยสุดกับรวยรองลงมา ก็ยังมีความต่างเยอะ แสดงว่าการกระจุกตัวอยู่ที่คน 10% ของประเทศ ในอเมริกาก็ลักษณะเดียวกัน แต่ยุโรปน้อยกว่าเพราะมีภาษีทรัพย์สิน
บุคคลที่มีที่ดินมากสุดในจังหวัดเหล่านี้มีที่ดินกี่ไร่
กทม. บุคคล/นิติบุคคล รายเดียว (ไม่เปิดเผย) มีที่ดินมากที่สุด 14,776 ไร่ ภูเก็ต 3152 ไร่ ปทุมธานี 28,999 ไร่ สมุทรปราการ 17,016 ไร่ นนทบุรี 6,691 ไร่ ระนอง 4,618 ไร่ นครนายก 34,000 ไร่
กทม. บุคคล/นิติบุคคล รายเดียว (ไม่เปิดเผย) มีที่ดินมากที่สุด 14,776 ไร่ ภูเก็ต 3152 ไร่ ปทุมธานี 28,999 ไร่ สมุทรปราการ 17,016 ไร่ นนทบุรี 6,691 ไร่ ระนอง 4,618 ไร่ นครนายก 34,000 ไร่
50 อันดับแรก มีที่ดินรวมกันเป็น 10% ของที่ดินทั้งหมด
กระจุกตัวสูง
การกระจุกตัวของทรัพย์สินเพิ่มขึ้นหรือไม่ เราไม่มีข้อมูลพอจะตอบ แต่อาจดูได้จากแนวโน้มการกระจายรายได้ ที่ข้อมูลย้อนไปถึง 2503 เพิ่มตลอด โดยเฉพาะ 2523 รายได้จีพีดีสูงขึ้น แต่การกระจายรายได้เมืองไทยเลวลงตลอด แนวโน้มการกระจุกตัวของทรัพย์สินในเมืองไทยสูงขึ้น
การกระจุกตัวของทรัพย์สินเพิ่มขึ้นหรือไม่ เราไม่มีข้อมูลพอจะตอบ แต่อาจดูได้จากแนวโน้มการกระจายรายได้ ที่ข้อมูลย้อนไปถึง 2503 เพิ่มตลอด โดยเฉพาะ 2523 รายได้จีพีดีสูงขึ้น แต่การกระจายรายได้เมืองไทยเลวลงตลอด แนวโน้มการกระจุกตัวของทรัพย์สินในเมืองไทยสูงขึ้น
ดิอิโคโนมิสท์เมื่อสองอาทิตย์ที่แล้ว เปิดเผยตัวเลข คนรวยสุด 20% ว่ามีรายได้รวมเป็นสัดส่วนเท่าไรของจีดีพี เมืองไทยเป็นรองโคลัมเบีย ซึ่งมีส่วนแบ่งจีดีพี 58.5% เมืองไทย 53.6% นั่นคือ รายได้เกิดขึ้นกว่าครึ่งอยู่ในมือคน 20% เราแย่กว่าบราซิล เม็กซิโก จีน ปากีสถาน กานา
ทำไมต้องกระจายการกระจุกตัว หลายคนคงตื่นเต้นตอนที่กรณ์ จาติกวนิช เสนอ ร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ขณะนี้ร่างนี้ถูกเลื่อนไปแล้ว เป้าประสงค์เพื่อใช้ที่ดินที่ทิ้งร้างให้เป็นประโยชน์ ให้ อปท.จัดเก็บแล้วนำรายได้ไปบำรุงกิจการในพื้นที่ ตั้งกองทุนธนาคารที่ดินได้ อัตราภาษีที่กำหนดค่อนข้างต่ำ คือ 0.05-2% ที่ใช้มากถึงแค่ 0.5%
อุปสรรคอยู่ที่ไหน บางคนอาจคิดว่าอยู่ที่สำนักงานทรัพย์สินฯ แต่มีข้อมูลน่าเชื่อถือว่าไม่ใช่ กรณีญี่ปุ่น สมเด็จจักรพรรดินีของญี่ปุ่น เมื่อได้รับมรดกเป็นคฤหาสน์และที่ดิน ท่านต้องเสียภาษีมรดก แต่ไม่สามารถมีเงินสดมาเสียภาษีได้ จึงขายที่ดินให้รัฐบาล พสกนิกรจำนวนหนึ่งเดินขบวนเรียกร้องให้ยกเว้นภาษีนี้กับท่าน เพราะต้องการให้เก็บเอาสมบัติครอบครัวเอาไว้ แต่ท่านออกแถลงการณ์ขอร้องให้ยกเลิกการเดินประท้วง และบอกว่าท่านเป็นพลเมืองคนหนึ่งของญี่ปุ่น ดังนั้น จึงจะเสียภาษีอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และได้ขายที่ดินนั้นไป รัฐบาลต่อมาขายให้ อปท. อปท.ก็มีนโยบายนำที่ดินนั้นไปเป็นส่วนสาธารณะ พสกนิกรจำนวนหนึ่งมาต่อต้านเมื่อจะมีการรื้อคฤหาสน์ แต่ก็ต้องเลิก เพราะกฎหมายที่ญี่ปุ่นก็คือ กฎหมาย (ผู้ฟังในหอประชุมหัวเราะ)
กรณีของเมืองไทย ข้อมูลนี้อาจบอกเค้าลางว่า อุปสรรคอยู่ที่รัฐสภา ข้อมูลของ ป.ป.ช. แสดงการแจ้งถือครองที่ดิน พรรคเพื่อไทย 173 คน 21,000 ไร่ มูลค่า 5 พันล้าน ประชาธิปัตย์ 160 คน 15,000 ไร่ 6 พันล้าน ภูมิใจไทย 31 คน 4,000 ไร่ 730 ล้าน เพื่อแผ่นดิน 29 คน 5,000 ไร่ 1 พันกว่าล้าน ฯลฯ ส.ว. 145 คน 20,000 ไร่ 10,000 กว่าล้าน คิดเป็นค่าเฉลี่ย ส.ส. 121 ไร่ต่อคน, ส.ว. 123 ไร่ต่อคน
สภาวะของภาษีในเมืองไทย ความสามารถการเก็บภาษี คิดเป็นร้อยละของจีดีพี (2551) ไทย 17 เวเนซุเอลา 25 เกาหลี 26 สวีเดน 49 รัสเซีย 37 ตุรกี 32 ญี่ปุ่น 27 อเมริกา 28 อังกฤษ 39 จึงไม่น่าแปลกใจว่าคุณภาพของสินค้าสาธารณะ ระบบสวัสดิการ ประกันสังคมของเราจึงยังไม่ดี ร้อยละ 80 ของครัวเรือนทั่วประเทศ ไม่มีน้ำประปาใช้ในบ้าน ประชากร 14,000 คนต่อหมอ 1 คนที่จังหวัดเลย ขณะที่กรุงเทพฯ ประชากร 850 คนต่อหมอ 1 คน
เราเก็บได้น้อย เพราะเราเน้นเก็บภาษีทางอ้อม เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ด้านภาษีทางตรงจากประชากร 67 ล้านคน กำลังแรงงาน 38 ล้าน มีผู้ยื่นแบบเสียภาษี 9 ล้านคน จ่ายภาษีจริง 2.3 ล้าน และมี 60,000 คนที่เสียอัตราสูงสุด 37% คิดเป็น 50% ของภาษีรายได้ทั้งหมด
ความสำคัญของภาษีทรัพย์สินเปรียบเทียบ OECD เกาหลี ไทย ที่เกาหลี 3.5% ของจีดีพี มากกว่า OECD ซึ่งเก็บได้ 1.9% ของไทย เก็บได้ 0.2%
3.ประสบการณ์ของเกาหลีใต้
หลังวิกฤตเศรษฐกิจในปี 40 ไทย เกาหลีใต้ ประสบปัญหามาก การว่างงาน รายได้ลด ราคาที่ดินเพิ่มสูง
แต่กรณีของเกาหลีใต้ กลุ่มประชาสังคมรวมตัวกันเรียกร้องให้พรรคการเมืองดำเนินนโยบาย Social Security ให้มีภาษีทรัพย์สินเพิ่มขึ้น เพื่อลดการเพิ่มขึ้นของราคาที่ดิน พรรคที่สนองความต้องการเหล่านี้ได้รับการเลือกตั้ง สิ่งที่เกิดหลังจากนั้น มีการปฏิรูประบบการประกันสังคม อย่างพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ มีการเสนอนโยบายการันตีรายได้ขั้นต่ำพอควรแก่อัตภาพ ให้แก่ประชาชนที่รายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ นอกจากนี้ยังปฏิรูประบบสาธารณสุขให้ครอบคลุมมากขึ้น ขายระบบ pension
ถามว่าเกาหลีใต้หาเงินจากไหน ทั้งที่ค่าใช้จ่ายเพิ่มจากร้อยละ 3 ของจีพีดีเป็นร้อยละ 6 จากนโยบายเหล่านั้น 58% ของรายจ่ายเหล่านั้นมาจากภาษีที่ดินที่ อปท.จัดเก็บ นอกจากนั้นเอามาจากภาษีอื่นๆ
การสามารถหาเงินจากภาษีทรัพย์สินมาทำนโยบายสาธารณะที่ครอบคลุมถึง 60% ถือว่าน่าสนใจ ถ้าชาวเกาหลีใต้สามารถเรียกร้องให้รัฐบาลเขานำภาษีที่ดิน ทรัพย์สินมาใช้ เพื่อนำรายได้มาใช้จ่ายเพื่อสังคมได้ แล้วทำไมชาวสยามทำไม่ได้ เป็นปัญหาที่เราต้องคิดกันต่อไป
ขอบคุณข้อมูลจาก ประชาไท
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น