“…คุณพ่อคุณแม่บางคนอาจมีการศึ
ลัดดา ตั้งสุภาชัย (ผู้อำนวยการกลุ่มเฝ้าระวั งทางวัฒนธรรม) ได้กล่าวถ้อยคำเหล่านี้เอาไว้ เมื่อครั้งที่เธอได้รับเชิ ญไปแสดงความเห็นต่อปรากฏการณ์ ดอกส้มสีทองบานสะพรั่ งในรายการโทรทัศน์รายการหนึ่ง ว่าพ่อแม่ควรจะมีบทบาทอย่างไรกั บการดูละครของเด็กและเยาวชนในสั งคมไทย ความปราถนาดีครั้งนี้ของคนที่ เรียกตัวเองว่าเปฌนผู้เฝ้าระวั งทางวัฒนธรรม ซึ่งมีหน้าที่อันไม่มีขอบเขตท่ านนี้ คงทำให้พ่อแม่หลายต่อหลายคนหน้ าชาขึ้นมา ไม่มากก็น้อย
ทัศนคติที่เห็นชัดเจนที่สุด คือ การจำแนกแบ่งคนที่มีระดับสติปั ญญาหรือจริยธรรมด้วยการศึ กษาในระดับปริญญาตรี ความคิดที่ว่า การศึกษาในระดับปริญญาตรีจะเป็ นดั่งยาครอบจักรวาล แก้ปัญหาได้ทุกอย่างในชีวิต รับมือได้กับทุกปัญหาที่เกิดขึ้ นกับตนเอง ครอบครัว และสังคมนั้น ส่วนตัวผู้เขียน คิดว่าสิ้นสมัยของความเชื่อเช่ นนี้ไปแล้วเสียด้วยซ้ำไป
เรื่องการดูละครถูกวกมาผูกติดกั บชนชั้นและระดับสติปัญญาของสั งคมอีกครั้ง แม้ก่อนถ้อยคำเหล่านี้ (ในคลิปเดียวกัน) ลัดดาจะออกตัวไว้ก่อนว่า สังคมเรามีความหลากหลาย มีทั้งผู้ที่เข้มแข็งและอ่อนแอ แต่คำพูดของลัดดาที่ยกมาข้างต้น เหมือนคำพิพากษาในที ที่กำลังส่งสารไปยังผู้รับฟังว่ า ชนชั้นไหนมีระดั บความสามารถในการแยกแยะความผิ ดชอบชั่วดีหรือความถูกผิดได้ดี กว่ากัน
ถ้าระดับการศึกษา, ชนชั้น และวุฒิภาวะที่พัฒนาขึ้นตามอายุ คือคำตอบของการวิเคราะห์สังเคราะห์ในสื่อประเภทต่างๆ ได้จริง ทำไมกระทรวงวัฒนธรรมยังคงต้องทำตัวเป็น ผู้ใหญ่แสนดีและรู้มากไปเสียทุกเรื่องอยู่อีก? ที่ย้อนแย้งที่สุด หากใช้ฐานความคิดชุดเดียวกัน ไปทาบทับเพื่อวิเคราะห์ในกรณีการห้ามฉายหนัง Insects in the backyard แล้ว นับว่าเป็นเรื่องตลกอย่างที่สุด ที่ฟ้องว่า เอาเข้าจริงๆ แล้วมาตรฐานการกำกับดูแลเนื้อหาสื่อและการจำกัดการเข้าถึงเนื้อหาสื่อในประเทศนี้ไม่เคยมี และหากใครสักคนยกอ้างคิดว่ามาตรฐานขึ้นมากล่าว มันก็คือวิธีคิดที่ล้นไปด้วยอัตวิสัยและอำนาจตามตำแหน่งที่ตนสวมบทบาทอยู่เท่านั้นเอง
หากย้อนกลับไปเมื่อปี 2547 มติคณะรัฐมนตรีฉบับหนึ่งได้กล่าวถึงการส่งเสริมให้มีรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กและเยาวชนมากขึ้น และส่งต่อให้เกิดการทำงานของกรมประชาสัมพันธ์และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการจำแนกประเภทรายการที่เหมาะสมกับผู้คนวัยต่างๆ ในสังคม จนกลายเป็น ฉลาก “เรต” แปะหน้ารายการโทรทัศน์อย่างเช่นทุกวันนี้
แต่มีอีกเรื่องหนึ่งที่ภาควิชาการด้านสื่อสารมวลชนพยายามจัดทำขึ้นมาตีคู่กับมติคณะรัฐมนตรีฉบับดังกล่าว นั่นคือ การจัดทำหลักสูตร “สื่อศึกษา” หรือ “Media Literacy” ให้เป็นรูปธรรมขึ้นมา ทั้งในหลักสูตรสถาบันการศึกษาและสำหรับการศึกษาแบบสาธารณะ แต่ดูเหมือนว่า งานที่วางโครงสร้างทางความคิดของอนุชนเช่นนี้กลับไม่ได้รับการผลักดันให้เกิดขึ้นจริงจากหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งที่การสร้างให้อนุชนสามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ และรู้เท่าทันในสื่อประเภทต่างๆ ที่รายล้อมตัวตั้งแต่ลืมตาตื่นจนถึงเข้านอนคือสิ่งที่สำคัญมากกว่าการจะผูกขาดหน้าที่การเซนเซอร์ในเนื้อหาสื่อของคนเพียงไม่กี่คนในประเทศนี้เท่านั้น ที่จะต้องออกมาเสนอหน้าตัวเองออกมาเรื่อยๆ และชี้ถูกชี้ผิดว่าอะไรควรดู อะไรไม่ควรดู
เรามีผู้ใหญ่รู้ดีมากมายไปหมด แต่ในทางกลับกัน เรามีแต่เด็กและเยาวชนที่อ่อนแอจากระบบการศึกษาที่กลายเป็นเครื่องมือให้ผู้ใหญ่ในสังคม ต้องลำบากผัดหน้าผัดตาแต่งตัวเป็นลิเกตัวพระตัวนางมาช่วยเหลือเด็กตัวน้อยๆ ที่ได้รับผลกระทบจากสื่อน้ำเน่าไร้สาระกันเรื่อยไป เพราะว่าพ่อแม่แท้ๆ ของเด็กน้อยเหล่านี้ เป็นชนชั้นล่าง เป็นคนที่มีการศึกษาน้อย เป็นพวกทำมาหากินไปวันๆ
สิ่งที่คนชนชั้นกลางและมีการศึกษาอย่างต่ำที่สุดคือระดับปริญญาตรีต้องรักษาไว้ ก็คือโครงสร้างและสถานะของตัวเองในสังคม ผ่านการให้คุณค่าและมาตรฐานทางจริยธรรมที่แปรผกผันมาจากสถานะทางสังคมนั่นเอง
การที่ใครสักคนพยายามจะผูกขาดความดี ความงาม และจริยธรรมศีลธรรม เพื่อให้ดำรงไว้ซึ่งสถานะทางสังคมของตนเองและพรรคพวกของตน มันน่ากลัวมากกว่าการที่เด็กสักคนประกาศให้โลกรู้ว่า “โตขึ้นจะเป็นแบบเรยา” เสียด้วยซ้ำไป
ถ้าผู้ใหญ่รู้มากจำพวกนี้ เล็งเห็นจริงๆ ว่าการศึกษาจะแก้ไขปัญหาของเด็ กและเยาวชนที่ได้รั บผลกระทบจากสื่อที่เขาเห็นว่ าเป็นของอันตราย ทำไมการจัดการศึกษาสำหรับการวิ เคราะห์ สังเคราะห์สื่อสำหรับเด็ กและเยาวชนจึงไม่สามารถเกิดขึ้ นได้จริง?
หลังจากละครเรื่องดอกส้มสี ทองจบไป เราจะต้องเห็นลัดดา ตั้งสุภาชัย หรือคนในกระทรวงวัฒนธรรม ออกมาสื่อสารกับสังคมในเรื่องซ้ ำเดิมเช่นนี้กันอีกสักกี่ร้อยกี ่พันครั้งกัน? ทั้งที่การแก้ปัญหาผลกระทบจากสื ่อต่อเด็กและเยาวชนก็คือการติ ดตั้งเครื่องมือวิเคราะห์,สั งเคราะห์สื่อให้ติดตัวเด็ กและเยาวชนนั่นเอง
สิ่งที่ผู้ใหญ่รู้มากและเต็มเปี ่ยมไปด้วยความปรารถนาดีทั้ งหลายในสังคมเลือกที่จะ “ไม่ทำ” บอกใบ้ให้เรารู้อยู้ในทีแล้วว่าอะไรคือสิ่งที่เขาเหล่านี้ หวาดกลัว
ผู้ใหญ่รู้มากพวกนี้อาจจะไม่ได้กลัวว่าเด็กจะโตขึ้นแล้วเป็นแบบเรยา
แต่การที่เด็กและเยาวชนรู้เท่าทันสื่อ , สามารถจำแนกแยกแยะ “สาร” รวมถึงประเมินคุณค่าของสื่อทุกประเภทได้ด้วยตนเอง คือ สิ่งที่ผู้ใหญ่รู้มากจำพวกนี้กลัวต่างหาก.
ที่มา : ประชาไท
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น