แม้เมื่อยามถูกแรงผลักหรือถูกดึงดูดให้เข้าไปหารั้วรวดหนามนั้น พวกเราส่วนใหญ่มักจะล้มเลิกความตั้งใจมื่อต้องเผชิญหน้ากับการปิดล้อมที่แน่นหนา แต่ก็ยังมีบางคนที่ไม่ยอมหันหลังกลับ คนผู้ที่ยังคงมุ่งมั่นที่จะปีนข้ามรั้วไปให้ได้ เพราะนั่นเป็นทางเลือกเดียวที่เขาผู้นั้นมี ที่เขาผู้นั้นจำเป็นต้องกระทำรั้วลวดหนามนี้ก็คือกฎแห่งสังคมที่ถูกสร้างขึ้นมา ทั้งกฎระเบียบ กฎแห่งศีลธรรม หรือสัญญาณเตือนต่างๆ แต่เมื่อมองจากมุมที่แตกต่าง รั้วเหล่านี้ก็คือกฎหมายแห่งการคุกคามดีๆ นี่เอง ที่ผู้คนจำต้องยอมจำนนต่อรั้วที่มีจำนวนหลายชั้น ที่กั้นรักษาอำนาจบางอย่างไว้จากพวกเราทั้งมวล . . .กระนั้นก็ตาม กระบวนการคือเส้นทางที่คนผู้หนึ่งผู้ใดจะต้องใช้ก้าวเดินเพื่อกู้ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของตัวเองคืนมา เป็นการกระทำเพื่อที่จะเรียกร้องซึ่งสิทธิในชีวิตของพวกเขาทั้งมวล ตามพละกำลังที่แต่ละคนจะพึงมี การกระทำที่ทั้งกฎหมาย จริยธรรม หรือข้อห้ามใดใด ก็ไม่สามารถหยุดยั้งเอาไว้ได้ มันคือคำประกาศถึงเจตจำนงค์และพลังของมนุษย์ ที่แม้ว่าจะพ่ายแพ้ตรงที่เส้นลวดนั้นก็ตามที แต่เขาทั้งหลายก็จะยังคงยืนยันที่จะไม่ยอมเป็นอัมพาตทางจิตสำนึกไม้ขีดก้านเดียวที่เปลี่ยนสังคมเกาหลี
จดหมายถึง “เหยื่ออธรรม” ทุกท่าน
สะพานข้ามน้ำกลางกรุงเฮลซิงกิเส้นนั้น เต็มไปด้วยร่องรอยกระสุนปืนที่ถูกทิ้งไว้อย่างจงใจ เพื่อเป็นอนุสรณ์และอุทาหรณ์แห่งความเจ็บปวดที่คนฟินน์ต้องลุกขึ้นมาเข่นฆ่าสังหารกันเองจนมีผู้เสียชีวิตร่วมสี่หมื่นคน เพราะอุดมการณ์แนวคิดขวาทุนนิยมกับซ้ายสังคมนิยมในปี 2461
“เดินแกว่งแขนและเหวี่ยงขาให้เต็มเหนี่ยว ให้สมกับเสรีภาพที่บรรพชน และวีรชน ได้เสียสละเลือดเนื้อให้กับเรา วิญญาณพวกเขายังเฝ้ามองอยู่ พวกเขาจะภูมิใจยิ่งว่าการเสียสละของพวกเขาในนามแห่งเสรีภาพ ถูกคนรุ่นหลังใช้มันอย่างสำนึกในคุณค่าจงกวัดแกว่งแขนขาไปกับเสรีภาพให้เต็มเหนี่ยว”เพื่อนร่วมเดินเคียงข้างบอกข้าพเจ้า พร้อมกับย้ำเตือนว่า “บนสะพานนั้นมีกี่ร้อยศพที่ปลิดปลิว ในถนนที่เราย่ำเหยียบมีกี่ชีวิตที่ดับสูญเพื่อชีวิตแห่งอนาคต”
คุกเก่าที่นี่ ร้างราผู้ต้องหาคดีคอมมิวนิสต์มากว่า 60 ปี มันถูกปรับปรุงสภาพเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของผู้แสวงหาเสรีภาพ เพื่อการรังสรรค์วรรณกรรมเพื่อปลดแอกอำนาจที่กดขี่
ในคุกใหม่กว่าที่อยู่ห่างไกลจากที่นี่หลายพันไมล์ แออัดยัดเยียด แน่นขนัดไปด้วยผู้คนที่ดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด
หัวชนหัว ขาเกยขา หลายสิบชีวิต ทุรนทุรายดีดดิ้นป่ายปะกันไปมาตลอดทั้งคืน หลายคนละเมอครางเพ้อ กรีดร้องด้วยความกลัวปิศาจร้ายที่เกาะกุมอยู่ในความฝัน
สภาพที่น่าสังเวช เลวร้ายเช่นนี้ กำลังถูกสุมแน่นด้วยผู้บริสุทธ์ิจำนวนมากขึ้น มากขึ้น ที่ถูกจับโยนใส่ในห้องขังเหล่านี้
ผู้คนที่ไม่มีความผิดใด นอกจากเพียงเรียกหาประชาธิปไตยของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน
พวกท่านเป็นมนุษย์คนหนึ่ง มนุษย์ที่ใช้ชีวิตเป็นดั่งคำประกาศแห่งเสรีภาพเพื่ออนุชนคนรุ่นอนาคต ด้วยหวังว่าความเจ็บปวดที่ค้างคามาหลายทศวรรษจะหมดสิ้นไปจากสังคมเสียที
ท่านทั้งหลายมีชื่อ ชื่อที่ถูกจารึกในคุกแสนทารุณนั้น – บัณฑิต อานียา, บุญยืน ประเสริฐยิ่ง, ดารุณี ชาญเชิงศิลปกุล, สุวิชา ท่าค้อ ทศพรฤทัย ประเสริฐสูง, ธันย์ฐวุฒิ ทวีวโรดมกุล, สุริยัน กกเปือย, สุชาติ นาคบางไทร (วรวุฒิ ฐานังกรณ์), อำพล ตั้งนพคุณ, สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ (แซ่ด่าน), เอกชัย หงส์กังวาน,และ สมยศ พฤกษาเกษมสุข และอีกมากมายที่ไม่ได้เอ่ยนาม ไม่ได้เป็นที่รับรู้
ไม่ใช่เฉพาะชาวไทยเท่านั้น!
ความอัปลักษณ์แห่งห้องขังไทยถูกนำไปถ่ายทอดทีวีของหลายชาติผ่านการจับกุมคนต่างชาติอย่างไร้เหตุผล และจับโยนใส่คุกไทยอย่างไม่ปรานีปราศรัย ทั้ง Oliver Jufer ชาวสวิสเซอร์แลนด์, Harry Nicolaides และ Conor Purcell จากออสเตรเลีย และ Jeff Savage จากอังกฤษ ด้วยข้อหาไม่เคารพองค์พระมหากษัตริย์และเข้าร่วมเรียกร้องประชาธิปไตยกับคนหาเช้ากินค่ำที่ประเทศไทย
“เหยื่ออธรรม” เหล่านี้ เริ่มกลายเป็นคนใกล้ตัวเรามากขึ้นเรื่อยๆ เป็นเพื่อนที่รู้จักมักคุ้นมาหลายปี เป็นคนที่เดินในแถวขบวนเดียวกัน ร่วมกันเปล่งเสียง “อำนาจอธิปไตยต้องเป็นของปวงชน”
สาส์นที่ทยอยส่งออกมาจากห้องขังที่ร้อนอบอ้าวนี้ คือถ้อยคำยืนยันถึงการเป็นเหยื่อของระบบการเมืองที่อยุติธรรม
การเมืองเพื่อการคงอำนาจของคนกลุ่มน้อย และการกดหัวคนกลุ่มใหญ่ไว้ใต้ท็อปบู๊ท
แม้จะอยู่ไกลกันหลายพันไมล์ ข่าวสารทางเมืองไทยหลั่งไหลเข้ามาทางเคเบิลที่ส่งตรงถึงทุกบ้านราวกับสายน้ำที่พากันหนีออกจากเขื่อนที่ถูกระเบิดกระจาย จนฉาบเติมแต้มผิวโลกตลอดเส้นทางที่มันไหลผ่านด้วยคราบเลือดสีแดงฉาน คราบเลือดและน้ำตาผสานรวมเข้ากับคราบเลือดและน้ำตาของมวลหมู่ผู้แสวงหาสันติภาพอีกนับแสน นับล้านชีวิต ตลอดเส้นทางที่เคลื่อนไหล รอยเปื้อนเลือดที่ประทับตราแห่งความปวดร้าว การเสียสละที่ได้รับการแซ่ซร้องสรรเสริญและคำขอบคุณจากบรรพชนรุ่นหลัง
ผู้คนตลอดเส้นทางรู้จักมันอย่างดียิ่ง และทุกผู้คนในโลกนี้ไม่มีใครปรารถนาที่จะเห็นหรือเผชิญหน้ากับมันอีกต่อไป – หลายเชื้อชาติวางความแค้น ยุติการเข่นฆ่ากันเพื่ออำนาจที่ฉ้อฉล เดินหน้าสู่ขบวนการเสรีภาพและสันติภาพ และยอมรับกติกาประชาธิปไตยที่ประชาชนทุกคนไม่ว่าจะเชื้อชาติ สีผิว ศาสนา ชนชั้น วรรณะใดก็ตาม ต่างก็มีค่าแห่งความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน
มีกี่ครอบครัวกันในโลกนี้ที่ไม่สูญเสียบุคคลที่รักในสงครามความบ้าคลั่งเพื่อปลดแอกอำนาจที่กดขี่
ตลอดเส้นทางจากกรุงเทพมหานคร เคลื่อนผ่านย่างกุ้ง ดาห์กา เดลลี กาฐมาณฑุ อาเมดาบัด คาบูล แบกแดด มอสโค เซนต์ปีเตอร์เบิร์ก มาจนถึงเฮลซิงกิ ฯลฯ ยังคุกรุ่นด้วยไฟการต่อสู้และแรงปรารถนาเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศสู่สังคมเท่าเทียมอย่างแท้จริง
กระนั้นในคำตอบของผู้คนมากหลายในดินแดนเหล่านี้ ที่ย่างกรายเฉียดฉิวเข้าใกล้แดนสังหารกลางมหานครอมรรัตนโกสินทร์ เพื่อมุ่งหน้าสู่ชายหาดงาม แดดกล้า หญิงงาม อาหารสด ย้อมผิวสีแทน ก็ยังคงเดินทางกลับบ้านพร้อมเรื่องเล่า “คนไทยใจดี มีมิตรภาพ และอาหารอร่อย”
เขาจะหวาดผวาเมื่อถูกคำถามว่า “คุณไม่รู้สึกเลยหรือถึงความตายในดินแดนที่ไปสุขสมบ้างเลยหรือ” ยิ้มละอาย หลบตาชั่วครู่ พร้อมกับขาที่รีบก้าวหนีคำถามที่ท้าทายมโนสำนึก
การตายจากการสังหารของทหารและตำรวจบนท้องถนนในทุกครั้งที่ประชาชนในประเทศไทยลุกขึ้นสู้เพื่อระบอบประชาธิปไตย ไม่ว่าจะ 77 หรือ 42 หรือ 45 หรือแม้แต่ 93 ชีวิตในปี 2553 ยังเป็นตัวเลขการสูญเสียไม่พอที่จะเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงอาชญากรรมแห่งมนุษยชาติ – มันน้อยนิดเมื่อเทียบกับเราต้องสูญเสียทหารที่ปกป้องดินแดนจากการรุกรานไปนับแสนคนในช่วงสงครามโลก
“เซ่นสังเวยอำนาจเพียง 93 คนในเมืองไทยนั้นน้อยนิด ปล่อยให้คนไทยจัดการแก้ปัญหาภายในประเทศกันเอาเองเถิด” หลายคนพยายามจะกล่าวเช่นนั้น
ขานรับด้วยเจ้าหน้าที่สหประชาชาติ ไอแอลโอ เอดีบี ไอเอมเอฟ ที่ไม่สามารถตัดสวาทขาดสะบั้นจากอาหารรสเลิศที่มีให้เลือกนานาชนิด กับวิถีชีวิตที่ยากหาได้ในบ้านเกิดตัวเอง ด้วยเงินเดือนและเบี้ยเลี้ยงสูงลิบ กลายเป็นอภิสิทธิชนที่ได้รับการพิทักษ์สิทธิ์อย่างสูงยิ่งในศูนย์กลางการค้ามหานคร
มันโอชะเสียจนยอมประทับตราความชอบธรรมให้กับการเข่นฆ่า – ครั้งแล้ว ครั้งเล่า – แม้จะขัดกับจิตสำนึกและมโนธรรมที่เชื่อว่าพวกเขามีอยู่บ้างก็ตามที
วิกฤติเมืองไทยเป็น “เรื่องภายในประเทศไทย” “เป็นเรื่องของทักษิณ ไม่ใช่ความต้องการของคนส่วนใหญ่” “ทุกคนที่ตายต่างถูกทักษิณจ้างมา” “ถ้าพวกเขาโง่มาตายให้กับนักการเมืองคอรัปชั่น เราก็ทำอะไรไม่ได้” พวกเขายังคงพูดอย่างนั้น แม้ประชาชนเรือนหมื่น เรือนแสนในประเทศไทยจะยืนหยัดประท้วงต่อเนื่องมากว่าสองปี – พวกเขาก็ยังยืนยันจะเชื่อเช่นนั้น – อนิจจัง อนิจจา!
เหยื่ออธรรมทั้งหลาย อย่าสงสัยว่านอกจากคนไทยยังเมินเฉยต่อความอยุติธรรมที่ยัดเยียดให้กับพวกท่าน แม้แต่ฑูตสันถวไมตรีจากดินแดนแห่งสังคมศิวิไลซ์จำนวนมากก็ยังเมินหน้าหนีต่อเสียงเพรียกหาความยุติธรรมของพวกท่าน . .
กระนั้น สังคมก็ไม่ได้เย็นชาเกินไป วีรกรรมของทุกท่านกำลังทำให้ทั้งสังคมไทยและสังคมโลก ร้อนเร่าราวเตาไฟหลอมเหล็ก – ไฟแห่งความปรารถนาเพื่อเสรีภาพของท่านและของคนไทยทั้งปวง ได้เริ่มทลายกำแพงแห่งความเย็นชาของสังคม และในไม่ช้ากำแพงที่คุมขังท่านที่รัก จะถูกทลายจนพินาศสิ้น
ขอท่านส่งสาส์นและเสียงกู่ตะโกนเพรียกหาเสรีภาพผ่านลอดลูกกรงมายังนอกกำแพงคุกอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่มันจะได้ถูกส่งต่อไปยังผู้ที่ปลดแอกความเป็นทาสลงสิ้นแล้ว และเพื่อคนที่ยังหวั่นไหวว่าควรจะเลือกอะไรดีระหว่าง “จำนนอยู่อย่างทาส” หรือ “ลุกขึ้นสู้เพื่อปลดแอกอำนาจที่กดขี่” จะได้มีกำลังใจฮึดสู้กับอุปสรรคและก้าวมายืนอยู่เคียงข้างท่าน
แน่นอน! ทั้งท่านในคุก และเราที่อยู่นอกคุก หรือต้องลี้ภัยยังต่างแดน ต่างก็ไม่ยอมให้กำแพงคุก หรืออำนาจมืดที่คุกคาม หรือพรมแดนประเทศ มากีดกั้นหัวใจและความมุ่งมั่นเพื่อการต่อสู้ของพวกเราได้
แม้เจ็บปวดเจียนตายในห้องขังร่วมสามปี ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล ก็ยังไม่ยอมก้มห้วให้กับความอยุติธรรม ประกาศยืนหยัดต่อสู้เพื่อความยุติธรรมจนถึงที่สุด แม้เธอจะเจ็บปวดรวดร้าวจากโรคร้ายที่เผชิญอยู่ ในสภาพเรือนจำที่ขาดแคลน มันเลวร้ายมากขึ้นด้วยเธอเป็นนักโทษคดีหมิ่นฯ จึงถูกเลือกปฏิบัติและกลั่นแกล้งต่างๆ นานา ทั้งไม่ได้รับอนุญาตให้ได้รับการรักษาพจากแพทย์ผู้เช่ียวชาญ เธอผ่ายผอมลงมาก และไม่มีแม้พลังงานที่จะเคี้ยวและกลืนกินอาหาร
ธันย์ฐวุฒิ ทวีวโรดมกุล เขียนจดหมายถึงลูกชายวัย 10 ขวบ ” … ไม่มีใครหรอกลูกที่จะอยู่ในคุกอย่างมีความสุข สิ่งเดียวในตอนนี้ที่ป๊าหวังมากที่สุดนั่นคือการได้ออกไปอยู่กับน้องเว็บอีกครั้งโดยเร็ว “น้องเว็บต้องรู้ไว้เสมอนะว่าป๊าไม่ได้ฆ่าคนตาย ป๊าไม่ได้คดโกงใคร ไม่ได้ขายยาเสพติด หรือหลอกลวงใคร ป๊าก็แค่ทำงานช่วยเหลือเพื่อนๆในสิ่งที่ป๊าสามารถทำได้เท่านั้น แล้วก็ถูกจับ”
สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ ส่งสาส์นจากคุกออกมาอย่างต่อเนื่อง แม้สังขารในวัย 68 เริ่มต้านทานโรคภัยไข้เจ็บทั้งหลายที่รุมเร้าได้ยากขึ้นเรื่อยๆ แม้จะลุกขึ้นมาเขียนพินัยกรรมสั่งลา ก็ยังบอกกับนักสู้นอกคุกว่าอย่าท้อถอยหรือสิ้นหวัง ขอให้สู้ต่อไป
ล่าสุด สมยศ พฤกษาเกษมสุข จ่าหัวจดหมายจากคุก “เหยื่ออธรรม” “ผมจะต่อสู้ให้ได้รับเสรีภาพตราบจนลมหายใจสุดท้าย ผมยอมเสียอิสรภาพ แต่จะไม่ยอมเสียความเป็นคนอย่างแน่นอน”
ท่านทั้งหลายทั้งที่เอ่ยนามและไม่ได้เอ่ยนามที่ถูกคุมขังด้วยข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เราระลึกถึงท่าน เราตามอ่านเรื่องราวของท่าน เราเจ็บปวดเมื่อทราบว่าท่านถูกทำร้าย ถูกกลั่นแกล้ง หรือเลือกปฏิบัติในเรือนจำ เราสั่นรัวไปด้วยความรู้สึกถึงพลังแห่งการมุ่งมั่นเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคมที่แม้กำแพงคุุกก็มิอาจปิดกั้นของพวกท่านได้
ก็ในเมื่อพวกท่านที่ถูกจองจำเสรีภาพในข้อกล่าวหาแห่งกฎหมายยุคโบราณยังยืนหยัดสู้ไม่ถอย เราฤาจะท้อถอยยอมให้เกิดความสั่นคลอนในหัวใจ
ท่านสู้ในคุก ส่วนเราก็จะสู้เพื่อบอกกับสังคมไทย และสังคมโลกถึงความอยุติธรรมที่พวกท่านได้รับ
เสรีภาพทางร่างกายของท่านอาจถูกจองจำ แม้ใจจะเจ็บปวดทรมาน แต่ไฟฝันยังคงลุกโชติช่วงหาได้แตกดับไปไม่ มันลุกโชติช่วงไม่ใช่เฉพาะแต่ในใจของท่าน แต่ในใจของทุกผู้คนในทุกสังคม ที่สั่นไหวไปกับจิตวิญญาณแห่งการต่อสู้ของท่าน
คงไม่อาจขออำนาจศักดิ์สิทธิ์ใดเพื่อให้คุ้มครองท่านนอกจากบอกว่าพลังของประชาชนที่ร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงจะคุ้มครองท่าน
พลังแห่งความรักในเสรีภาพจักหล่อเลี้ยงจิตวิญญาณของท่าน
พลังแห่งความเชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตยของประชาชน โดยประชาชน จักโอบกอดท่าน กระซิบที่หูของท่านว่า ท่านไม่ได้สู้อยู่ตามลำพัง
พลังแห่งความวาดหวังถึงอนาคตที่ดีกว่านี้เพื่ออนุชนรุ่นหลังของพวกท่าน และพวกเรา จะเป็นดังน้ำทิพย์ชโลมรักษาความเจ็บปวดทั้งทางกายและทางใจให้กับท่านทั้งหลาย
สุดท้ายนี้ ขอโทษทุกท่านมา ณ ที่นี้ ที่ไม่อาจเดินทางมาเยี่ยมท่านได้ด้วยตัวเอง หวังว่าอีกไม่นานพวกเราจะได้ร่วมเฉลิมฉลองอิสรภาพและเสรีภาพร่วมกัน
ไม่มีอำนาจใดต้านทานพลังแห่งฉันทามติมหาประชาชน เพื่อเสรีภาพ ความเท่าเทียม และประชาธิปไตยไปได้
ด้วยรัก ศรัทธา และเชื่อมั่น
จรรยา ยิ้มประเสริฐ
จรรยา ยิ้มประเสริฐ
แม้ว่าจำนวนผู้ถูกกดขี่จะมีมากกว่าจำนวนผู้กดขี่มากนักก็ตาม ผู้ถูกกดขี่เหล่านั้นต่างก็ไม่สามารถรวมตัวกันได้ ยอมให้ตัวเองต้องตกอยู่ภายใต้ความกรุณาปรานีของผู้กดขี่ที่มีการรวมตัวกัน อย่างเข้มแข็ง แต่มันก็ยังมีเหตุผลอื่นอีกด้วย นั่นคือ “จิตวิญญาณแห่งความเป็นทาส” ของตัวผู้ถูกกดขี่เองถ้าเหล่าทาสโยนจิตวิญญาณของความเป็นทาสทิ้งไปเสียได้ และยืนยันถึงสิทธิแห่งความเป็นมนุษย์ มนุษย์เฉกเช่นเดียวกันกับนายทาส เป็นมนุษย์ที่มีเสรีภาพเสมอกัน และเตรียมตัวต่อสู้ ทีนี่ก็เหลือเพียงแค่เวลาที่จะสามารถรวมตัวกันให้ได้เท่านั้นเอง . .ไม้ขีดก้านเดียวที่เปลี่ยนสังคมเกาหลี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น