เกษียร เตชะพีระ เคยเขียนบทความเรื่อง “คนไม่เห็นผี” เอาไว้เมื่อราวสองเดือนหลังเหตุการณ์พฤษภา 53 ปีที่แล้ว เป็นบทความอันว่าด้วยการที่คนกรุงเทพฯ ออกมาทำความสะอาด ลบร่องรอยที่เกิดขึ้นในช่วงการชุมนุมและสลายการชุมนุมคนเสื้อแดง ตั้งแต่รอยคราบเลือด ไปจนถึงรอยขีดเขียน ข้อความ สัญลักษณ์ สติ๊กเกอร์ ที่ปรากฎอยู่ตามที่ต่าง ๆ เช่น อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย สี่แยกคอกวัว ราชประสงค์ สยามแสควร์ ฯลฯ อันบ่งบอกได้ถึงการชุมนุม ได้ถูกทำความสะอาดไปจนเรียบร้อยเกลี้ยงเกลา จนแทบไม่เหลือร่องรอยริ้วรอยว่าเคยเกิดเหตุผิดปกติอะไรขึ้น ณ สถานที่เหล่านั้นเมื่อไม่นานมานี้เอง
การทำความสะอาดครั้งใหญ่ดังกล่าวสะท้อนบอกว่า เมืองอย่างกรุงเทพฯ “ไม่อยากจำอะไร” หรือ “อยากให้อะไรจบลง” ทว่าการไม่อยากจำอะไรที่ว่า เป็นไปในลักษณะของ “การใช้อำนาจในการลืม” (the power to forget) ลบล้างตัดตอนความเป็นจริงที่เคยเกิดขึ้นอย่างหักหาญรุนแรง แม้ว่ามีคนตายมากมายจากเหตุการณ์พฤษภา 53 แต่คนกรุงก็ทำเป็น “ไม่เห็นผี” เสียนี่
ธรรมดายิ่งเวลาผ่านไป ร่องรอยอันโดดเด่นเหล่านั้นก็ย่อมจะถูกขจัดขัดถูลบออกไปเรื่อย ๆ จนบัดนี้ เวียนมาจะครบรอบ 1 ปีของเหตุการณ์ ดูเผิน ๆ เหมือนว่าจะไม่มีร่องร่อยอะไรหลงเหลืออยู่ แต่ถ้าเราไม่ละเลยจนเกินไป เราก็จะพบว่ามียังร่องรอยบางอย่างหลงเหลืออยู่จริง ๆ ตามสถานที่ต่าง ๆ ทั้งสถานที่ที่เป็นจุดเกิดเหตุ และที่อื่น ๆ มากมายทั่วกรุงเทพฯแห่งนี้
ซึ่งมันน่าจะพอบ่งบอกอะไรเราได้บ้าง...
กฟน. คลองเตย (29 มี.ค.54) |
เกาะเกร็ด (8 พ.ค.54) |
ข้างห้างเซ็นทรัลเวิร์ลด์ (29 มี.ค.54) |
บริเวณแยกคอกวัว (31 มี.ค.54) |
ตึกเก่าตรงข้าม ปปส. (28 เม.ย.54) |
ถนนดินสอ ฝั่งโรงเรียนสตรีวิทยา (17 พ.ค.54) |
ถนนตะนาว ฝั่งข้าวสาร |
สะพานผ่านฟ้าลีลาศ (20 เม.ย.54) |
สะพานลอย ตรงประตูฝั่งคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (24 เม.ย.54) |
ตู้โทรศัพท์ย่านบ่อนไก่ ถ.พระรามสี่ (29 เม.ย.54) |
บันไดหน้าหอศิลป์ กทม (27 เม.ย.54) |
ปากซอยงามดูพลี (24 เม.ย.54) |
แยกราชประสงค์ (29 มี.ค.54) |
หน้าเซ็นทรัลเวิร์ลด์ (29 มี.ค.54) |
ราชวิถีซอย 3 (29 เม.ย.54) |
ทางเข้า MRT สีลม (22 เม.ย.54) |
หน้าโรงแรมสวิสโซเทล ใกล้ MRT ห้วยขวาง (2 พ.ค.54) |
รถหน้าร้านส่งน้ำแข็ง ท่าเรือปากเกร็ด (14 พ.ค.54) |
ขอบคุณข้อมูลจาก ประชาไท
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น