แรงงานนอกระบบสนเข้าประกันสังคม 3 แสนราย
นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ได้รวบรวมรายชื่อผู้สนใจสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 พบว่ามีผู้แจ้งความจำนงทั้งสิ้น 3.29 แสนรายแล้ว โดยมีจังหวัดที่มีผู้สนใจเกินเป้า 2จังหวัดประกอบด้วยแพร่มีผู้สนใจ 3.1 หมื่นคน คิดเป็น 141% ของเป้าที่ตั้งไว้ 2 หมื่ืนคน และที่ยะลามีผู้สนใจ 1.7 หมื่นคน คิดเป็น 101.71% ของเป้าที่ตั้งไว้
นพ.สมเกียรติ กล่าวว่า ได้ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายงบกลางจำนวน 552 ล้านบาท เพื่อประชาสัมพันธ์จูงใจให้ประชาชนแรงงานนอกระบบมาสมัครเข้ามาตรา 40 ขณะเดียวกันได้ขอความร่วมมือร่วมจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ในการประชาสัมพันธ์ แจกจ่ายใบสมัครให้แก่กลุ่มลูกค้าของธนาคาร รวมถึงการรับชำระเงินสมทบ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานงานในรายละเอียดเพื่อจัดทำบันทึกข้อตกลง (MOU)
ขณะที่ความคืบหน้าการประกาศใช้ร่าง พระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบประเภทประโยชน์ทดแทน ตลอดจนหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของบุคคลซึ่งสมัครเป็นผู้ประกัน ตน พ.ศ.... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเสร็จแล้ว และอยู่ระหว่างนำขึ้นทูลเกล้าฯ
ทั้งนี้นโยบายดึงแรงงานนอกระบบ 24 ล้านคนเข้าเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40โดยเปิดทางเลือกในการจ่ายเงินสมทบ 2อัตราคือ 100 บาท/เดือน และ 150 บาท/เดือน
โดยหากจ่ายสมทบ 100 บาท/เดือน ผู้สมทบจะได้สิทธิประโยชน์ 3 อย่างคือ 1.เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีเจ็บป่วย ได้วันละ 200 บาท/วัน เป็นเวลาไม่เกิน 20 วัน 2.เงินชดเชยทุพพลภาพ ได้ 1,000 บาท/เดือน ต่อเนื่องเป็นเวลา 15 ปี และ 3.เงินชดเชยกรณีเสียชีวิต 2 หมื่นบาท/คน โดยรัฐอุดหนุนให้ 30 บาทและผู้ประกันตนจ่ายอีก 70 บาท
ส่วนอัตรา 150 บาท/เดือน จะได้สิทธิประโยชน์เพิ่มอีก 1 อย่างคือเงินบำเหน็จชราภาพซึ่งจะหักเงิน 50 บาทสะสมเป็นบำเหน็จ โดยผู้ประกันตนจะได้รับเงินเมื่อถึงอายุครบ 60 ปี มีการการันตีดอกผลขั้นต่ำ 3 % แต่อาจมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับผลกำไรที่นำไปลงทุน โดยอัตรานี้รัฐจ่ายสมทบ 50 บาท และผู้ประกันตนจ่ายอีก 100 บาท
เบื้องต้นสปส.ตั้งเป้าหมายว่าจะมีแรงงานนอกระบบสนใจเข้าร่วมโครงการ 2.4 ล้านคนในระยะเวลา 2 ปี
(โพสต์ทูเดย์, 25-4-2554)
ชมรมพิทักษ์สิทธิ์ฯ เตรียมฟ้องศาลแรงงานให้ สปส.คืนเงินสุขภาพผู้ประกันตน 28 เม.ย.นี้
26 เม.ย. 54 - นางสาวสารี อ๋องสมหวัง โฆษกชมรมพิทักษ์สิทธิ์ผู้ประกันตน เปิดเผยว่า ขณะนี้ชมรมพิทักษ์สิทธิ์ผู้ประกันตนกำลังทำคำฟ้องให้รอบด้าน เพื่อยื่นฟ้องสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ต่อศาลแรงงานให้คืนเงินให้กับผู้ประกันตนที่เรียกเก็บตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม 2549 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นวันที่มีการยกเลิกการเก็บค่าธรรมเนียม 30 บาท จากสิทธิการรักษาด้วยหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือบัตรทองมีผลบังคับใช้ เนื่องจากเงินที่ สปส.เรียกเก็บจากผู้ประกันตนในอัตราร้อยละ 1 ซึ่งคำนวณมาจากอัตราที่ สปส.เรียกเก็บจากผู้ประกันตนในเรื่องสิทธิสุขภาพ ได้แก่ สิทธิด้านการรักษาพยาบาลร้อยละ 0.88 และการคลอดบุตรร้อยละ 0.12 นั้น เป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาตรา 30 ที่ระบุถึงการได้รับความเสมอภาคทางด้านสุขภาพของบุคคล มาตรา 51 การมีความเสมอภาคในการได้รับบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพและมาตรฐาน และมาตรา 80 (2) ที่ระบุว่ารัฐต้องส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มี มาตรฐานอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
โดยจะไปยื่นฟ้อง สปส.ที่ศาลแรงงานในวันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายนนี้ เวลา 14.00 น. เพื่อให้ สปส.คืนเงินที่ผู้ประกันตนต้องถูกบังคับจ่ายอย่างไม่เป็นธรรมในสิทธิสุขภาพ คืนให้ผู้ประกันตน และหวังว่าสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและสำนักงานประกันสังคมจะพูดคุย กันโดยเร็วตามที่รับปากไว้กับผู้ประกันตนด้วย
(สำนักข่าวไทย, 26-4-2554)
ก.แรงงาน เตรียมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ ก.คลัง ปล่อยเงินกู้ให้แรงงานไทยที่ต้องการไปทำงานต่างประเทศ
26 เม.ย. 54 - นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ในวันพรุ่งนี้ (27 เม.ย.54) จะมีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ระหว่างกระทรวงแรงงาน กับ กระทรวงการคลัง ซึ่งมีธนาคารของรัฐ 3 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ในการช่วยเหลือคนหางานเข้าถึงแหล่งเงินกู้ ตามปฏิญญา 3 สิงหา โดยจะปล่อยกู้ให้กับแรงงานไทยที่ต้องการเดินทางไปทำงานต่างประเทศ ซึ่ง 1คน สามารถกู้ได้ในวงเงินไม่เกิน 150,000 บาท อัตราดอกเบี้ยประมาณร้อยละ 9-10 ต่อปี ซึ่งถือว่าถูกกว่าเงินกู้นอกระบบ ทั้งนี้ในช่วงแรกจะปล่อยกู้ให้กับแรงงานไทยที่เดินทางกลับจากลิเบียก่อน เนื่องจากเป็นกลุ่มแรงงานที่ได้รับความเดือดร้อนมากในขณะนี้ ส่วนหลักการค้ำประกันจะมีอยู่ 2 กรณีคือ กรณีแรก บริษัทจัดหางาน จะเป็นผู้ค้ำประกันให้ โดยแรงงานจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการประมาณ 1-2 พันบาท ทั้งนี้ เพื่อเป็นการรองรับความเสี่ยงให้กับบริษัทจัดหางาน ส่วนกรณีที่ 2 คือ กรมการจัดหางานเป็นผู้ค้ำประกัน สำหรับการจัดส่งโดยกรมการจัดหางาน โดยใช้สัญญาจ้างเป็นหลักประกัน ซึ่งจะต้องตกลงกับนายจ้างและบริษัทจัดหางาน ให้ส่งเงินเดือนของแรงงานกลับมาประเทศไทย ผ่านธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อหักเงินตามสัญญาที่ได้ตกลงกันไว้
รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงแรงงาน ยังฝากถึงแรงงานไทยที่ต้องการเดินทางไปทำงานต่างประเทศ ว่า หากต้องการไปทำงานด้วยความมั่นคง ขอให้ดำเนินการผ่านกรมการจัดหางาน หรือติดต่อที่สำนักงานจัดหางานจังหวัด ซึ่งจะช่วยดูแลในเรื่องของข้อเสียเปรียบระหว่างการทำสัญญา โดยจะมีเจ้าหน้าที่คอยให้คำปรึกษาอยู่ตลอด รวมถึงยังดูแลในเรื่องของแหล่งทุน หากไม่มีหลักทรัพย์ในการดำเนินการ ก็สามารถนำสัญญาจ้างมาค้ำประกันได้
(สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์, 26-4-2554)
บอร์ด สปส.เพิ่มสิทธิประโยชน์รักษาพยาบาลผู้ประกันตนหลายรายการ
26 เม.ย. 54 - บอร์ด สปส.เพิ่มสิทธิประโยชน์รักษาพยาบาลให้กับผู้ประกันตนหลายรายการ ทั้งผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง ผู้ป่วยโรคมะเร็ง 7 ชนิด และทุพพลภาพ คาดมีผลบังคับใช้ใน 2 สัปดาห์ พร้อมขยายเวลาให้ธนาคารปล่อยกู้เงินซ่อมแซมที่อยู่อาศัยให้ผู้ประกันตนใน พื้นที่ประสบอุทกภัยภาคใต้อีก 6 เดือน
นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานประธานคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด สปส.) กล่าวว่าที่ประชุมบอร์ด สปส.วันนี้มีมติเพิ่มสิทธิประโยชน์ในส่วนของการรักษาพยาบาลให้กับผู้ประกัน ตนหลายรายการ ประกอบด้วย 1.ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง จากเดิมให้สิทธิในการฟอกเลือด ล้างไตทางช่องท้อง และผ่าตัดเปลี่ยนไต ที่ให้สิทธิเฉพาะผู้ป่วยที่อยู่ในระบบประกันตน เปลี่ยนเป็นให้สิทธิการรักษาทั้งป่วยก่อนและหลังเข้าระบบประกันตน และเพิ่มค่าใช้จ่ายในการให้ยาเพิ่มเลือด คิดเป็นเงินเฉพาะผู้ป่วยโรคไต 200 ล้านบาทต่อปี
2.ให้การรักษาผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพ ขยายสิทธิจากเดิมที่รักษาใน รพ.รัฐและ รพ.เอกชนในวงเงิน 2,000 บาท ทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก ขยายเพิ่มเป็นรักษา รพ.รัฐฟรีทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน ส่วน รพ.เอกชน ขยายเพิ่มวงเงินเป็น4,000 บาทกรณีผู้ป่วยใน ส่วนผู้ป่วยนอกวงเงิน 2,000 บาทเท่าเดิม เพิ่มค่าพาหนะเหมาจ่ายในการเดินไปรักษาที่ รพ. 500บาทต่อเดือน กรณีนี้ให้มีผลย้อนหลังตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2554 และ 3. มีการเพิ่มสิทธิในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง 7ชนิด ซึ่งเดิมให้การรักษาฟรีอยู่แล้ว เพียงแต่ให้ รพ.รักษาเบิกจ่ายได้ในวงเงิน 50,000 บาทต่อราย ซึ่งส่งผลทำให้ รพ.หลายแห่งจำกัดค่ารักษา จึงอนุมัติเพิ่มวงเงินให้เบิกจ่ายได้สูงสุดถึง 270,000 บาทต่อราย ซึ่งต้องอยู่ในแนวทางรักษาที่ สปส.ระบุและได้รับการยอมรับในสากล โดยหลังจากนี้ฝ่ายเลขา สปส.จะส่งเรื่องให้คณะกรรมการแพทย์ ของ สปส.ประกาศและลงนามให้มีผลบังคับใช้หลังจากนี้อีก 2 สัปดาห์
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังอนุมัติช่วยผู้ประสบภัยในพื้นที่ภาคใต้ โดยขยายช่วงเวลาโครงการอนุมัติสินเชื่อในการซ่อมที่อยู่อาศัยให้ผู้ประกันตน ในการขอกู้เงินจากธนาคารต่อไปอีก 6 เดือน และให้ธนาคารปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้ผู้ประกอบการในพื้นที่ดังกล่าว ในวงเงินไม่เกินรายละ 1 ล้านบาท
(สำนักข่าวไทย, 26-4-2554)
อนุมติงบ 525 ล้านให้ประกันสังคมดึงแรงงานเข้าระบบ
26 เม.ย. 54 - นายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ( ครม. ) อนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอของบ 525 ล้านบาท เพื่อเดินหน้าโครงการจูงใจให้แรงงานนอกระบบ เข้าเป็นผู้ประกันตนในระบบตามมาตรา 40 ซึ่งจะเริ่มดำเนินการในวันที่ 1 พ.ค 2554 นี้
รายงานข่าวจากรประกันสังคม แจ้งว่าขณะนี้มีแรงงานนอกระบบสนใจเข้าโครงการนี้แล้วมากกว่า 3 แสนราย โดยสำนักงานประกันสังคม(สปส.) จะใช้งบประมาณรายจ่ายงบกลางเพื่อประชาสัมพันธ์จูงใจให้แรงงานเข้าร่วม โครงการ 525ล้านบาท สำหรับประสานเครือข่ายท้องถิ่น ห้างสรรพสินค้า และร้านค้าสะดวกซื้อ เป็นศูนย์กลางลงทะเบียนเพื่ออำนวยความสะดวกแก่แรงงานนอกระบบ ที่ต้องการสมัครเข้าระบบประกันสังคม มาตรา 40 โดยจะเริ่มจ่ายเงินเข้ากองทุนประกันสังคม ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. นี้
(โพสต์ทูเดย์, 26-4-2554)
ครม.อนุมัติแต่งตั้ง คกก.แก้ไขปัญหาวิกฤติการณ์ขาดแคลนแรงงานของประเทศ
นพ.มารุต มัสยวาณิช รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) อนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานตามที่กระทรวง แรงงานเสนอ
สำหรับองค์ประกอบของคณะกรรมการฯ ชุดดังกล่าวจะมี รมว.แรงงาน เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นรองประธานกรรมการ ส่วนกรรมการประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เลขาธิการสภาการศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ รองปลัดกระทรวงแรงงาน (หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ) อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ประธานสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย ประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทย ประธานสภาองค์การลูกจ้างแรงงานเสรีแห่งชาติ โดยมีอธิบดีกรมการจัดหางานเป็นกรรมการและเลขานุการ รองอธิบดีกรมการจัดหางานและเจ้าหน้าที่กรมการจัดหางานที่อธิบดีกรมการ จัดหางานมอบหมาย เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
โดยคณะกรรมการฯ มีหน้าที่กำหนดแนวทางและมาตรการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานในแต่ ละภาคการผลิตเพื่อเสนอ ครม.พิจารณามีมติให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป, ประสานนโยบายและแผนการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานทั้งภาครัฐและ ภาคเอกชน, ส่งเสริมและสนับสนุนการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานทั้งภาครัฐและ ภาคเอกชน, ติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามแนวทางและมาตรการแก้ไขปัญหา การขาดแคลนแรงงานของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องตามมติ ครม. และมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อดำเนินการตามที่ เห็นสมควร
(สำนักข่าวอินโฟเควสท์, 26-4-2554)
ก.แรงงาน เปิดเบอร์โทรฉุกเฉินช่วยเหลือแรงงานใน ตปท. ตลอด 24 ชม.
ก.แรงงาน 27 เม.ย.- นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวภายหลังทำพิธีเปิดศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์สำหรับแรงงานไทยในต่าง ประเทศ ที่บริเวณชั้น 1 กระทรวงแรงงานว่า จากการที่แรงงานที่เดินทางไปทำงานต่างประเทศในช่วงที่ผ่านมา ประสบปัญหาความเดือดร้อน อาทิ ความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศลิเบีย สถานการณ์ภัยพิบัติในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการติดต่อสื่อสารของแรงงานไทย แม้บางประเทศรวม 11 ประเทศจะมีสำนักแรงงานในต่างประเทศ (สนร.) แต่ก็ยังถือว่าไม่เพียงพอหากเกิดปัญหา
ดังนั้น เพื่อให้แรงงานที่ประสบความเดือดร้อน สามารถโทรศัพท์ร้องทุกข์มายังกระทรวงแรงงานได้อย่างทันท่วงที จึงได้มีการเปิดหมายเลขโทรศัพท์พิเศษ ผ่านทางหมายเลข 800 662 662 66 เพื่อให้แรงงาน โทรมาร้องขอความช่วยเหลือที่ประเทศไทยได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่คิดค่าบริการ เบื้องต้นโครงการดังกล่าวจะนำร่องใน 20 ประเทศที่มีแรงงานไทยเป็นจำนวนมาก ประกอบด้วย แคนาดา จีน สาธารณรัฐ เดนมาร์ก ฟินแลนด์ เยอรมนี ฮ่องกง ฮังการี อิสราเอล ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซีย นิวซีแลนด์ โปตุเกส รัสเซีย สิงคโปร์ แอฟริกาใต้ สวีเดน ไต้หวัน และอังกฤษ ก่อนจะขยายไปยังประเทศอื่นๆ ในอนาคต
(สำนักข่าวไทย, 27-4-2554)
สรส.ลงมติเอกฉันท์ให้ "สมศักดิ์ โกศัยสุข - สาวิทย์ แก้วหวาน" ถอนตัวแกนนำเสื้อเหลือง
รายงานข่าวแจ้งว่า สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) มีมติเป็นเอกฉันท์สั่งให้นายสมศักดิ์ โกศัยสุข แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย(พธม.) รุ่นที่ 1 และนายสาวิทย์ แก้วหวาน แกนนำพธม.รุ่นที่ 2 ถอนตัวจากพธม. ตั้งแต่เมื่อวันที่ 26 เม.ย. ที่ผ่านมา
(มติชนออนไลน์, 27-4-2554)
ก.แรงงาน จับมือ ก.คลัง ปล่อยสินเชื่อ 3 ธนาคารรัฐกู้ไปทำงานต่างประเทศ
ก.แรงงาน 27 เม.ย. 54 - ก.แรงงาน จับมือ ก.คลัง ปล่อยสินเชื่อ 3 ธนาคารรัฐ ให้กู้ไปทำงานต่างประเทศ เผย ดอกเบี้ยถูก แค่ร้อยละ 9 และไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน เชื่อช่วยคนงานลดภาระไม่ให้ถูกเอาเปรียบ ด้าน รมว.คลัง เผยเตรียมลดภาษีให้ผู้ประกอบการเฉพาะที่ยอมขึ้นค่าจ้าง
นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วยนายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ร่วมกันเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โครงการสินเชื่อเพื่อการไปทำงานต่างประเทศ ระหว่างกรมการจัดหางานและธนาคารของรัฐ 3 แห่ง ประกอบด้วยธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) โดยมีผู้แทนหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม
นายเฉลิมชัย กล่าวว่า ภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว ทั้ง 3 ธนาคารจะปล่อยสินเชื่อให้กับแรงงานไทยที่ต้องการจะเดินทางไปทำงานต่างประเทศ ซึ่งครอบคลุมในส่วนของค่าใช้จ่ายส่วนตัว ค่าตั๋วเครื่องบิน ในวงเงินคนละไม่เกิน 150,000 บาท ระยะเวลาผ่อนชำระไม่เกิน 18 เดือน เสียดอกเบี้ยร้อยละ 9 ต่อปี เงื่อนไขการปล่อยกู้ไม่จำเป็นต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน แต่ให้ใช้สัญญาจ้างงานเป็นหลักประกันแทน เชื่อว่าจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่าย ให้กับผู้ใช้แรงงาน ไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบจากแหล่งเงินกู้นอกระบบ รวมถึงการจัดเก็บค่าส่งคนงานไปต่างประเทศเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด เพราะสัญญาจ้างจะต้องถูกตรวจสอบผ่านกรมการจัดหางาน และธนาคารต่า งๆ โดยจะไม่เกิดคำว่า “ไปเสียนา มาเสียเมีย” อีกต่อไป ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมโครงการโดยแจ้งความประสงค์ที่จัดหางานจังหวัดทุก จังหวัดได้ตั้งแต่วันนี้
ด้านนายกรณ์ กล่าวว่า โครงการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการยกระดับคุณภาพชีวิตผู้ใช้แรงงานของ รัฐบาล นอกเหนือจากความพยายามที่จะปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำอีกร้อยละ 25 ภายใน 2 ปี โดยขณะนี้กระทรวงการคลังกำลังอยู่ในระหว่างจัดทำมาตรการทางด้านภาษี เพื่อช่วยลดภาระผู้ประกอบการหากต้องขึ้นค่าจ้าง เบื้องต้นมีหลักการ ที่จะจัดทำเป็นมาตรการลดภาษีเฉพาะสถานประกอบการที่สามารถปรับขึ้นค่าจ้าง ตามนโยบายที่กำหนดได้
(สำนักข่าวไทย, 27-4-2554)
องค์กรลูกจ้างขอให้ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำอีก 13% ภายในเดือน พ.ค.นี้
ก.แรงงาน 28 เม.ย. 54 - นายมนัส โกศล ในฐานะประธานองค์การแรงงานแห่งประเทศไทย (อรท.) เข้ายื่นหนังสือถึง นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เรียกร้องให้พิจารณาปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำอีกร้อยละ 13 ของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำแต่ละจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อเป็นของขวัญวันแรงงานให้กับผู้ใช้แรงงาน โดยระบุว่าปัจจุบันราคาสินค้าอุปโภคบริโภคได้ปรับตัวสูงขึ้นเกือบทุกชนิด ทั้งข้าวสาร ไข่ไก่ น้ำมันพืช และแก๊สหุงต้ม ทำให้อาหารตามท้องตลาดปรับตัวสูงขึ้น จนลูกจ้างที่มีรายได้น้อย ต้องทำงานล่วงเวลามากขึ้น เพื่อให้มีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพ ยิ่งหากสถานประกอบการใดไม่มีการทำงานล่วงเวลา ลูกจ้างจะอยู่ไม่ได้ โดยขอให้การปรับขึ้นค่าจ้างมีผลบังคับใช้ภายในเดือนพฤษภาคมนี้ ส่วนมาตรการทางด้านภาษีที่กระทรวงการคลัง มีแนวคิดที่จะลดภาระให้สถานประกอบการเฉพาะผู้ที่สามารถปรับขึ้นค่าจ้างขั้น ต่ำได้นั้น ตนเห็นด้วยที่เอามาตรการทางด้านภาษีมาช่วยผู้ประกอบการ แต่น่าจะมีการปรับลดให้กับสถานประกอบทุกแห่งอย่างเท่าเทียมกันมากกว่า
ด้าน นพ.สมเกียรติ กล่าวว่า จะนำข้อเรียกร้องดังกล่าวเข้าที่ประชุมคณะกรรมการค่าจ้างในช่วงปลายเดือน พฤษภาคมนี้ แต่คงไม่ทันประกาศใช้ตามที่มีการเรียกร้อง
(สำนักข่าวไทย, 28-4-2554)
โพลล์เผย แรงงานพอใจนโยบายพรรคเพื่อไทยค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท
วันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันแรงงานแห่งชาติ ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ(กรุงเทพโพลล์) จึงได้สำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้แรงงานภายใต้หัวข้อ “ผู้ใช้แรงงาน กับสิ่งที่ร้องขอในวันแรงงานแห่งชาติ” โดยเก็บข้อมูลจากผู้ใช้แรงงานในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 1,073 คน พบว่า ผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่ร้อยละ 91.1 ระบุว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในปัจจุบันไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ โดยค่าจ้างขั้นต่ำที่เพียงพอต่อการดำรงชีพเฉลี่ยควรอยู่ที่ 290 บาทต่อวัน
เมื่อสอบถามความเห็นเกี่ยวกับนโยบาย ค่าแรงขั้นต่ำที่ 2 พรรคใหญ่หาเสียงอยู่ในขณะนี้ พบว่า ในส่วนนโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำร้อยละ 25 ภายใน 2 ปีของพรรคประชาธิปัตย์นั้น ผู้ใช้แรงงานร้อยละ 57.9 ยังคงมองว่าการปรับค่าจ้างขั้นต่ำดังกล่าวยังคงไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพอยู่ ดี และร้อยละ 63.7 ก็ยังไม่เชื่อว่านโยบายดังกล่าวจะทำได้จริง ในส่วนนโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวันของพรรคเพื่อไทย ผู้ใช้แรงงานร้อยละ 88.2 เห็นว่าค่าจ้างขั้นต่ำดังกล่าวเพียงพอต่อค่าครองชีพ และร้อยละ 54.0 เชื่อว่านโยบายดังกล่าวจะทำได้จริง เมื่อให้ผู้ใช้แรงงานเปรียบเทียบทั้ง 2นโยบายพบว่า ผู้ใช้แรงงานร้อยละ 84.5 ชอบนโยบายของพรรคเพื่อไทยมากกว่า
สำหรับแนวคิดการจัดทำ "มาตรฐานฝีมือแรงงาน" ที่กำลังจะเกิดขึ้น ผู้ใช้แรงงานร้อยละ 53.3 เชื่อว่าจะช่วยยกระดับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำให้อยู่ในระดับที่ควรจะเป็นได้ ซึ่งการจัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานดังกล่าวผู้ใช้แรงงานร้อยละ 82.2 เชื่อว่าจะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของแรงงานโดยรวมเพิ่มขึ้น
ส่วนสิ่งที่ผู้ใช้แรงงานต้องการ ฝากบอกไปยังนายจ้าง/เจ้าของกิจการ มากที่สุดเนื่องในวันแรงงานแห่งชาติ คือ ต้องการให้ขึ้นค่าแรง โบนัส เบี้ยขยัน รวมถึงดูแลค่าจ้างให้เหมาะสมกับค่าครองชีพ (บางคนได้รับค่าจ้างต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ)และจ่ายค่าจ้างให้สอดคล้องกับงาน ที่ทำอยู่จริง (ร้อยละ 58.4) ด้านสิ่งที่ต้องการร้องขอจากรัฐบาลให้เข้ามาดูแล พัฒนา และปรับปรุงแก้ไขมากที่สุด ได้แก่ เรื่องค่าแรง/ค่าจ้าง (ร้อยละ 45.1) รองลงมาต้องการให้ภาครัฐเข้ามาดูแลเรื่องสวัสดิการ(ร้อยละ 25.4) และเรื่องคุณภาพชีวิต (ร้อยละ 16.4)
(กรุงเทพธุรกิจ, 28-4-2554)
แรงงานเฮ!เอกชนตอบรับขึ้นค่าแรงตามฝีมือ
วันนี้ (29 เม.ย.) ที่กระทรวงแรงงาน นางจิราภรณ์ เกสรสุจริต อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) แถลงข่าว“กำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ”ว่า ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบให้นำประกาศคณะกรรมการค่าจ้างเรื่องกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐาน ฝีมือ 11 สาขาอาชีพ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและมีผลบังคับใช้หลัง 90 วัน กพร.จึงได้เตรียมความพร้อมเพื่อให้บริการทดสอบและรับรองคุณภาพฝีมือแรงงาน โดยใช้สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดและศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานของหน่วยงาน อื่น รวม 184 แห่ง เป็นสถานที่ทดสอบ
นางจิราภรณ์ กล่าวว่า กพร.ได้กำหนดค่าธรรมเนียมในการทดสอบไว้คือระดับ 1 จ่าย 100 บาท ระดับ 2 จ่าย 150 บาทและระดับ 3 จ่าย 200 บาท ซึ่งจนถึงปี 2553 มีผู้เข้าร่วมทดสอบมาตรฐานฝีมือใน 11 สาขาอาชีพแล้วกว่า 6 หมื่นคน โดยผ่านการทดสอบ4.8 หมื่นคน อย่างไรก็ตาม คาดว่าในปี 2554 จะมีผู้ขอรับการทดสอบประมาณ 2 หมื่นคน
วันนี้ (29 เม.ย.) ที่กระทรวงแรงงาน นางจิราภรณ์ เกสรสุจริต อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) แถลงข่าว“กำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ”ว่า ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบให้นำประกาศคณะกรรมการค่าจ้างเรื่องกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐาน ฝีมือ 11 สาขาอาชีพ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและมีผลบังคับใช้หลัง 90 วัน กพร.จึงได้เตรียมความพร้อมเพื่อให้บริการทดสอบและรับรองคุณภาพฝีมือแรงงาน โดยใช้สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดและศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานของหน่วยงาน อื่น รวม 184 แห่ง เป็นสถานที่ทดสอบ
นางจิราภรณ์ กล่าวว่า กพร.ได้กำหนดค่าธรรมเนียมในการทดสอบไว้คือระดับ 1 จ่าย 100 บาท ระดับ 2 จ่าย 150 บาทและระดับ 3 จ่าย 200 บาท ซึ่งจนถึงปี 2553 มีผู้เข้าร่วมทดสอบมาตรฐานฝีมือใน 11 สาขาอาชีพแล้วกว่า 6 หมื่นคน โดยผ่านการทดสอบ4.8 หมื่นคน อย่างไรก็ตาม คาดว่าในปี 2554 จะมีผู้ขอรับการทดสอบประมาณ 2 หมื่นคน
ขณะที่นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.แรงงาน กล่าวว่า การกำหนดมาตรฐานฝีมือแรงงานครั้งนี้จะนำไปสู่การลดต้นทุนการผลิต เนื่องจากเมื่อแรงงานมีฝีมือก็สามารถเพิ่มผลผลิตได้ ดังนั้นจึงอยากให้ผู้ประกอบการพาลูกจ้างมารับการทดสอบ เนื่องจากทุกๆปีต้องประสบปัญหาในเรื่องการเรียกร้องค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งการพิจารณาไม่มีหลักเกณฑ์ตายตัว และทุกครั้งที่มีการเรียกร้องก็จะเกิดแรงกระเพื่อมเพราะไม่สามารถปรับได้ตาม ความเป็นจริงของสังคม ทั้งๆที่ประเทศไทยขาดแคลนแรงงานจำนวนมาก
ด้านนายชุมพล พรประภา ประธานคณะอนุกรรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สภาหอการค้าไทย กล่าวว่า การออกมาตรการดังกล่าวของรัฐบาลไม่ถือว่าเป็นการบังคับ เพราะหากสถานประกอบการไม่พาลูกจ้างไปทดสอบฝีมือก็ไม่มีปัญหาอะไร และมาตรการนี้ประเทศไทยเป็นเพียงไม่กี่ประเทศที่นำมาใช้
อย่างไรก็ตาม ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมเนื่องจากไทยขาดแคลนแรงงานมานับสิบปี ซึ่งจริงๆควรที่จะทำมาตั้งนานแล้ว ต้องบอกว่าวันนี้อำนาจการต่อรองอยู่ในมือของลูกจ้าง แต่เมื่อออกมาตรการนี้มา การต่อต้านจากเอกชนน้อยลง
นายชุมพล กล่าวว่า ในเบื้องต้นอยากให้กระทรวงแรงงานเร่งทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการก่อน เพราะบางส่วนยังเข้าใจผิดคิดว่าต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้น เนื่องจากนักธุรกิจส่วนใหญ่ต่างก็ดูเรื่องความคุ้มค่า ซึ่งหากทั้งลูกจ้างและภาคธุรกิจได้ประโยชน์ด้วยกันก็ไม่น่ามีปัญหาอะไร และหลังจากนี้ในส่วนของสภาหอการค้าไทยและสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยก็ต้อง เร่งทำความเข้าใจกับสมาชิกด้วย
นายชุมพล กล่าวต่ออีกว่า เรื่องนี้จะไปเร่งคงไม่ได้ คงต้องๆค่อยเป็นค่อยไป จริงๆแล้วประเทศไทยควรทำเรื่องนี้มาตั้งแต่เมื่อสิบปีก่อน แต่ประเด็นที่ยังน่าเป็นห่วงคือ กลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอีรายย่อย ซึ่งตนเห็นว่ารัฐบาลต้องหาทางช่วยเหลือก่อน เพราะผู้ประกอบการกลุ่มนี้ใช้แรงงานเข้มข้น และปรับตัวได้ช้า ดังนั้นภาครัฐอาจต้องเข้าไปช่วยให้เงินสนับสนุนในการยกระดับมาตรฐานฝีมือ ครั้งนี้
“ภาคธุรกิจที่น่าห่วงคือธุรกิจเอสเอ็มอีซึ่งปรับตัวไม่ทันและต้นทุน น้อยต่างจากธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีต้นทุนสูงและปรับตัวรวดเร็ว จึงอยากให้กระทรวงแรงงานให้การสนับสนุนธุรกิจเอสเอ็มอีโดยคิดค่าบริการ ประเมินมาตรฐานฝีมือแรงงานให้อัตราที่ถูกลงหรือกำหนดให้การธุรกิจเอสเอ็ม อีสามารถนำค่าใช้จ่ายต่างๆในการสนับสนุนให้ลูกจ้างเข้าประเมินมาตรฐานฝีมือ แรงงานไปใช้ในการลดหย่อนภาษีได้เพื่อช่วยลดภาระต้นทุน”ดร.ชุมพล กล่าว
นายชุมพล ยังกล่าวด้วยว่า การกำหนดมาตรฐานอาชีพครั้งนี้ถือว่าเป็นทางออกหนึ่งของการแก้ไขปัญหาค่าจ้าง ขั้นต่ำ ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการได้รับแรงกดดันลดลง ส่วนข้อเสนอที่รัฐบาลบอกว่าจะลดภาษีให้สถานประกอบการนั้นก็เป็นเรื่องที่ดี แต่ขึ้นอยู่ว่าจะลดเท่าไร เช่น ตอนนี้ผู้ประกอบการจ่ายภาษีร้อยละ 30 หากรัฐบาลลดเหลือร้อยละ 17-18 ก็ไม่มีปัญหา
“ผมเชื่อว่าค่าแรงคงต้องเพิ่มขึ้นอีก เพราะเชื่อว่าเงินเฟ้อในไตรมาส 1-2 ปีหน้าจะเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะราคาน้ำมันที่รัฐบาลต้องปล่อยลอยตัว ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง และรัฐบาลก็ไม่สามารถคุมราคาสินค้าแต่ละตัวไว้ได้ ต้นทุนค่าครองชีพพุ่งสูงขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อ ” นายชุมพล กล่าว
นายจตุรพร สุวรรณโชติ ผู้เข้ารับการฝีกอบรมและทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานสาขาช่างอิเลคทรอนิกส์ (โทรทัศน์) กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ดีที่ทางกระทรวงแรงงานได้จัดทำอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรง งาน เพราะทำให้แรงงานมีความมั่นคงในการทำงานและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพราะปัจจุบันแรงงานส่วนใหญ่ยังได้รับค่าจ้างขั้นต่ำอยู่ ซึ่งไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพของคนงาน
นางวาสนา จันทร์อักษร ผู้เข้าฝึกอบรมและทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน สาขาประกอบอาหารไทย กล่าวว่า ตนเห็นด้วยที่มีการกำหนดค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ เนื่องจากมองว่าแรงงานที่ได้ใบประกาศคุณวุฒิวิชาชีพตามมาตรฐาน จะสามารถนำไปใช้ทำงานในต่างประเทศที่ใช้มาตรฐานฝีมือแรงงานได้ทันที ซึ่งจะส่งผลดีให้กับแรงงานในแง่ของค่าแรงที่เพิ่มขึ้น และสวัสดิการดีขึ้น
ผศ.ศรีสมร คงพันธ์ ผู้เชี่ยวชาญสาขาผู้ประกอบอาหารไทย กล่าวว่า การมดสอบจะใช้หลักเกณฑ์ตามมาตรฐานสากล โดยจะมีการทดสอบทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ ทั้งนี้ โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิคอบตัดสิน 3คน ซึ่งการทดสอบกับกระทรวงแรงงาน จะเสียค่าธรรมเนียม 100 บาท แต่หากไปทดสอบกับภาคเอกชนต้องเสีย 1,000 บาท
ด้านนายชุมพล พรประภา ประธานคณะอนุกรรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สภาหอการค้าไทย กล่าวว่า การออกมาตรการดังกล่าวของรัฐบาลไม่ถือว่าเป็นการบังคับ เพราะหากสถานประกอบการไม่พาลูกจ้างไปทดสอบฝีมือก็ไม่มีปัญหาอะไร และมาตรการนี้ประเทศไทยเป็นเพียงไม่กี่ประเทศที่นำมาใช้
อย่างไรก็ตาม ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมเนื่องจากไทยขาดแคลนแรงงานมานับสิบปี ซึ่งจริงๆควรที่จะทำมาตั้งนานแล้ว ต้องบอกว่าวันนี้อำนาจการต่อรองอยู่ในมือของลูกจ้าง แต่เมื่อออกมาตรการนี้มา การต่อต้านจากเอกชนน้อยลง
นายชุมพล กล่าวว่า ในเบื้องต้นอยากให้กระทรวงแรงงานเร่งทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการก่อน เพราะบางส่วนยังเข้าใจผิดคิดว่าต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้น เนื่องจากนักธุรกิจส่วนใหญ่ต่างก็ดูเรื่องความคุ้มค่า ซึ่งหากทั้งลูกจ้างและภาคธุรกิจได้ประโยชน์ด้วยกันก็ไม่น่ามีปัญหาอะไร และหลังจากนี้ในส่วนของสภาหอการค้าไทยและสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยก็ต้อง เร่งทำความเข้าใจกับสมาชิกด้วย
นายชุมพล กล่าวต่ออีกว่า เรื่องนี้จะไปเร่งคงไม่ได้ คงต้องๆค่อยเป็นค่อยไป จริงๆแล้วประเทศไทยควรทำเรื่องนี้มาตั้งแต่เมื่อสิบปีก่อน แต่ประเด็นที่ยังน่าเป็นห่วงคือ กลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอีรายย่อย ซึ่งตนเห็นว่ารัฐบาลต้องหาทางช่วยเหลือก่อน เพราะผู้ประกอบการกลุ่มนี้ใช้แรงงานเข้มข้น และปรับตัวได้ช้า ดังนั้นภาครัฐอาจต้องเข้าไปช่วยให้เงินสนับสนุนในการยกระดับมาตรฐานฝีมือ ครั้งนี้
“ภาคธุรกิจที่น่าห่วงคือธุรกิจเอสเอ็มอีซึ่งปรับตัวไม่ทันและต้นทุน น้อยต่างจากธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีต้นทุนสูงและปรับตัวรวดเร็ว จึงอยากให้กระทรวงแรงงานให้การสนับสนุนธุรกิจเอสเอ็มอีโดยคิดค่าบริการ ประเมินมาตรฐานฝีมือแรงงานให้อัตราที่ถูกลงหรือกำหนดให้การธุรกิจเอสเอ็ม อีสามารถนำค่าใช้จ่ายต่างๆในการสนับสนุนให้ลูกจ้างเข้าประเมินมาตรฐานฝีมือ แรงงานไปใช้ในการลดหย่อนภาษีได้เพื่อช่วยลดภาระต้นทุน”ดร.ชุมพล กล่าว
นายชุมพล ยังกล่าวด้วยว่า การกำหนดมาตรฐานอาชีพครั้งนี้ถือว่าเป็นทางออกหนึ่งของการแก้ไขปัญหาค่าจ้าง ขั้นต่ำ ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการได้รับแรงกดดันลดลง ส่วนข้อเสนอที่รัฐบาลบอกว่าจะลดภาษีให้สถานประกอบการนั้นก็เป็นเรื่องที่ดี แต่ขึ้นอยู่ว่าจะลดเท่าไร เช่น ตอนนี้ผู้ประกอบการจ่ายภาษีร้อยละ 30 หากรัฐบาลลดเหลือร้อยละ 17-18 ก็ไม่มีปัญหา
“ผมเชื่อว่าค่าแรงคงต้องเพิ่มขึ้นอีก เพราะเชื่อว่าเงินเฟ้อในไตรมาส 1-2 ปีหน้าจะเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะราคาน้ำมันที่รัฐบาลต้องปล่อยลอยตัว ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง และรัฐบาลก็ไม่สามารถคุมราคาสินค้าแต่ละตัวไว้ได้ ต้นทุนค่าครองชีพพุ่งสูงขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อ ” นายชุมพล กล่าว
นายจตุรพร สุวรรณโชติ ผู้เข้ารับการฝีกอบรมและทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานสาขาช่างอิเลคทรอนิกส์ (โทรทัศน์) กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ดีที่ทางกระทรวงแรงงานได้จัดทำอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรง งาน เพราะทำให้แรงงานมีความมั่นคงในการทำงานและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพราะปัจจุบันแรงงานส่วนใหญ่ยังได้รับค่าจ้างขั้นต่ำอยู่ ซึ่งไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพของคนงาน
นางวาสนา จันทร์อักษร ผู้เข้าฝึกอบรมและทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน สาขาประกอบอาหารไทย กล่าวว่า ตนเห็นด้วยที่มีการกำหนดค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ เนื่องจากมองว่าแรงงานที่ได้ใบประกาศคุณวุฒิวิชาชีพตามมาตรฐาน จะสามารถนำไปใช้ทำงานในต่างประเทศที่ใช้มาตรฐานฝีมือแรงงานได้ทันที ซึ่งจะส่งผลดีให้กับแรงงานในแง่ของค่าแรงที่เพิ่มขึ้น และสวัสดิการดีขึ้น
ผศ.ศรีสมร คงพันธ์ ผู้เชี่ยวชาญสาขาผู้ประกอบอาหารไทย กล่าวว่า การมดสอบจะใช้หลักเกณฑ์ตามมาตรฐานสากล โดยจะมีการทดสอบทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ ทั้งนี้ โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิคอบตัดสิน 3คน ซึ่งการทดสอบกับกระทรวงแรงงาน จะเสียค่าธรรมเนียม 100 บาท แต่หากไปทดสอบกับภาคเอกชนต้องเสีย 1,000 บาท
(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 29-4-2554)
สหพันธ์แรงงานแบงก์ฯ ยื่นโนติสแบงก์ชาติ
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีหนังสือแจ้งธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติตามคำวินิจฉัยข้อกฏหมายคุ้มครองแรงงาน โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เกี่ยวกับการให้พนักงานมาทำงานในวันหยุดทำการธนาคารพาณิชย์ สหพันธ์แรงงานธนาคารและการเงินฯ (สธง.) เห็นว่าผู้ว่าการ ธปท. คงไม่แตะการใช้อำนาจของอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยโดยออกประกาศ ธปท. ที่ สนส. 63/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ประกอบกิจการสาขาธนาคารพาณิชย์ ซึ่งเป็นกฏหมายลูก แม้จะขัดต่อ พ.ร.บ. ธุรกิจสถาบันเงิน พ.ศ. 2551 และ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 อันเป็นกฏหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย (กม. แม่) จึงยื่นหนังสือบอกกล่าวให้ผู้ว่าการ ธปท. แสดงเจตนาปฏิบัติตามกฏหมายอย่างเคร่งครัด
นายธีรคม ไวชนะ ประธานสหพันธ์แรงงานธนาคารและการเงินแห่งประเทศไทย (สธง.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 6 เมษายน2554 คณะกรรมการ สอง. ได้มีการประชุมเกี่ยวกับเรื่อง การใช้พนักงาน/ลูกจ้างแบงก์ทำงานในวันหยุดทำการของธนาคารพาณิชย์ ในสาขาห้างสรรพสินค้าหรือในสาขาเปิดทำการเจ็ดวัน
คณะกรรมการ สธง. ได้พิจารณาวิเคราะห์ หนังสือของ ธปท. ที่ ธปท.ฝนส.(21) 260/2554 ถึง สธง. โดยบอกกล่าวว่าได้แจ้งให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติตามคำวินิจฉัยข้อกฏหมาย คุ้มครองแรงงาน โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงานเกี่ยวกับการให้พนักงาน ลูกจ้าง มาทำงานในวันหยุดทำการของธนาคารพาณิชย์แล้ว
ประธาน สธง. กล่าวต่อไปอีกว่า พวกเราเห็นว่า ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่ได้พิจารณาประเด็นการใช้อำนาจของอดีตผู้ว่าการ ธปท. ซึ่งได้ออกประกาศ ธปท.ที่ สนส. 63/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบกิจการสาขาธนาคารพาณิชย์ ข้อ 5.4 วันและเวลาทำการปกติ และการเปลี่ยนแปลงวันและเวลาทำการ ขัดกับ พ.ร.บ. ธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551มาตรา 37 วรรคสอง ระบุว่า “ในปีหนึ่งๆ ให้สถาบันการเงินมีวันหยุดตามประเพณีตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด” ซึ่งตามบทบัญญัติ ดังกล่าวไม่ได้บัญญัติยกเว้นอนุญาตให้ปฏิบัติเป็นประการอื่น ประกอบกับตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 29 “ให้นายจ้างประกาศกำหนดวันหยุดตามประเพณีให้ลูกจ้างทราบเป็นการล่วงหน้า ปีหนึ่งไม่น้อยกว่าสิบสามวัน โดยรวมวันแรงงานแห่งชาติตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด” และวรรคสี่ “ในกรณีที่นายจ้างไม่อาจให้ลูกจ้างหยุดตามประเพณีได้ เนื่องจากลูกจ้างทำงานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานตามที่กำหนดในกฏกระทรวง” (กฏกระทรวงที่ 4/2541) ออกตามความใน พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ไม่ใช่งานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานที่นายจ้างไม่อาจให้ลูกจ้างทำงานในวัน หยุดประเพณี ตามที่กำหนดไว้ในกฏกระทรวง
พวกเราจึงเห็นพ้องกันว่า ให้ สธง. มีหนังสือบอกกล่าว ให้ผู้ว่าการธนาคารปฏิบัติตามกฏหมายอย่างเคร่งครัด (พ.ร.บ. ธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 มาตรา 37 วรรคสอง และ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 29 วรรคแรก และ วรรคสี่) โดยให้ดำเนินการกับธนาคารพาณิชย์ ที่เปิดทำการในวันหยุดตามประเพณี ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศกำหนดใน ราชกิจจานุเบกษา ดังนั้น หากผู้ว่า ธปท. ยังเพิกเฉย ถือว่ามีเจตนาอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ฝ่าฝืน มาตรา 37 วรรคสอง ของ พ.ร.บ. ธุรกิจสถาบันการเงิน วรรคสอง และ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน มาตรา 29 อาจมีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานละเว้น ไม่ปฏิบัติหน้าที่ โดยชอบด้วยกฏหมาย ประธาน สธง. กล่าวในที่สุด
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีหนังสือแจ้งธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติตามคำวินิจฉัยข้อกฏหมายคุ้มครองแรงงาน โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เกี่ยวกับการให้พนักงานมาทำงานในวันหยุดทำการธนาคารพาณิชย์ สหพันธ์แรงงานธนาคารและการเงินฯ (สธง.) เห็นว่าผู้ว่าการ ธปท. คงไม่แตะการใช้อำนาจของอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยโดยออกประกาศ ธปท. ที่ สนส. 63/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ประกอบกิจการสาขาธนาคารพาณิชย์ ซึ่งเป็นกฏหมายลูก แม้จะขัดต่อ พ.ร.บ. ธุรกิจสถาบันเงิน พ.ศ. 2551 และ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 อันเป็นกฏหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย (กม. แม่) จึงยื่นหนังสือบอกกล่าวให้ผู้ว่าการ ธปท. แสดงเจตนาปฏิบัติตามกฏหมายอย่างเคร่งครัด
นายธีรคม ไวชนะ ประธานสหพันธ์แรงงานธนาคารและการเงินแห่งประเทศไทย (สธง.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 6 เมษายน2554 คณะกรรมการ สอง. ได้มีการประชุมเกี่ยวกับเรื่อง การใช้พนักงาน/ลูกจ้างแบงก์ทำงานในวันหยุดทำการของธนาคารพาณิชย์ ในสาขาห้างสรรพสินค้าหรือในสาขาเปิดทำการเจ็ดวัน
คณะกรรมการ สธง. ได้พิจารณาวิเคราะห์ หนังสือของ ธปท. ที่ ธปท.ฝนส.(21) 260/2554 ถึง สธง. โดยบอกกล่าวว่าได้แจ้งให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติตามคำวินิจฉัยข้อกฏหมาย คุ้มครองแรงงาน โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงานเกี่ยวกับการให้พนักงาน ลูกจ้าง มาทำงานในวันหยุดทำการของธนาคารพาณิชย์แล้ว
ประธาน สธง. กล่าวต่อไปอีกว่า พวกเราเห็นว่า ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่ได้พิจารณาประเด็นการใช้อำนาจของอดีตผู้ว่าการ ธปท. ซึ่งได้ออกประกาศ ธปท.ที่ สนส. 63/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบกิจการสาขาธนาคารพาณิชย์ ข้อ 5.4 วันและเวลาทำการปกติ และการเปลี่ยนแปลงวันและเวลาทำการ ขัดกับ พ.ร.บ. ธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551มาตรา 37 วรรคสอง ระบุว่า “ในปีหนึ่งๆ ให้สถาบันการเงินมีวันหยุดตามประเพณีตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด” ซึ่งตามบทบัญญัติ ดังกล่าวไม่ได้บัญญัติยกเว้นอนุญาตให้ปฏิบัติเป็นประการอื่น ประกอบกับตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 29 “ให้นายจ้างประกาศกำหนดวันหยุดตามประเพณีให้ลูกจ้างทราบเป็นการล่วงหน้า ปีหนึ่งไม่น้อยกว่าสิบสามวัน โดยรวมวันแรงงานแห่งชาติตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด” และวรรคสี่ “ในกรณีที่นายจ้างไม่อาจให้ลูกจ้างหยุดตามประเพณีได้ เนื่องจากลูกจ้างทำงานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานตามที่กำหนดในกฏกระทรวง” (กฏกระทรวงที่ 4/2541) ออกตามความใน พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ไม่ใช่งานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานที่นายจ้างไม่อาจให้ลูกจ้างทำงานในวัน หยุดประเพณี ตามที่กำหนดไว้ในกฏกระทรวง
พวกเราจึงเห็นพ้องกันว่า ให้ สธง. มีหนังสือบอกกล่าว ให้ผู้ว่าการธนาคารปฏิบัติตามกฏหมายอย่างเคร่งครัด (พ.ร.บ. ธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 มาตรา 37 วรรคสอง และ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 29 วรรคแรก และ วรรคสี่) โดยให้ดำเนินการกับธนาคารพาณิชย์ ที่เปิดทำการในวันหยุดตามประเพณี ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศกำหนดใน ราชกิจจานุเบกษา ดังนั้น หากผู้ว่า ธปท. ยังเพิกเฉย ถือว่ามีเจตนาอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ฝ่าฝืน มาตรา 37 วรรคสอง ของ พ.ร.บ. ธุรกิจสถาบันการเงิน วรรคสอง และ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน มาตรา 29 อาจมีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานละเว้น ไม่ปฏิบัติหน้าที่ โดยชอบด้วยกฏหมาย ประธาน สธง. กล่าวในที่สุด
(นักสื่อสารแรงงาน, 29-4-2554)
ที่มา : ประชาไท
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น