หยุดคุกคามสิทธิเสรีภาพของประชาชน
ท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองที่ทวีความเข้มข้นมากขึ้นนับตั้งแต่การรัฐประหารปี 2549 ประชาชนที่มีความคิดเห็นทางการเมืองแตกต่างจากผู้ยึดกุมอำนาจรัฐ ก็ต้องเผชิญกับการคุกคามสิทธิและเสรีภาพมากขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะนี้ เงาทะมึนของการคุกคามได้ลุกลามเข้าสู่ผู้คนในวงวิชาการด้วยเช่นกัน ล่าสุดคือการคุกคามที่เกิดขึ้นกับอาจารย์ ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ด้วยสาเหตุที่อาจารย์ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทและสถานะของสถาบันกษัตริย์ในสังคมไทยในเวทีวิชาการต่าง ๆ หลายครั้งหลายครา
พวกเราในฐานะนักวิชาการเครือข่ายสันติประชาธรรม และประชาชนที่เห็นด้วยกับแถลงการณ์นี้ เชื่อว่าการแสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมาและเปิดเผยของอาจารย์สมศักดิ์ วางอยู่บนเจตจำนงที่ต้องการเห็นสถาบันกษัตริย์ดำรงควบคู่อย่างสอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งต่อความมั่นคงของทั้งสถาบันกษัตริย์และต่อสังคมไทยโดยรวม แต่เป็นสิ่งที่น่ากังวลอย่างยิ่งที่การแสดงความคิดเห็นของอาจารย์สมศักดิ์ ที่มุ่งเรียกร้องให้ผู้มีอำนาจได้ตระหนักถึงปัญหาที่สังคมไทยกำลังเผชิญอยู่นี้ ได้ถูกโจมตีว่าเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มุ่งล้มล้างสถาบันกษัตริย์ และอาจถึงขั้นถูกนำไปเป็นข้ออ้างสำหรับการรัฐประหารครั้งต่อไปก็ได้ นอกจากนี้ อาจารย์สมศักดิ์ไม่ใช่คนแรกและคนสุดท้ายที่จะแสดงความเห็นในเรื่องดังกล่าวอย่างแน่นอน คำถามคืออำนาจรัฐจะติดตามคุกคามประชาชนด้วยประเด็นปัญหานี้อีกกว้างขวางแค่ไหน
พวกเราจึงขอเรียกร้องให้ผู้ที่เกี่ยวข้องยุติการคุกคามเสรีภาพทางวิชาการของอาจารย์สมศักดิ์ และต่อประชาชนกลุ่มอื่น ๆ ที่มีความคิดทางการเมืองที่แตกต่าง โปรดตระหนักว่าในสังคมประชาธิปไตย ทุกสถาบันควรได้รับการตรวจสอบและวิพากษ์วิจารณ์ได้เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่จะเป็นประโยชน์กับสังคมประการสำคัญ การเปิดกว้างยินยอมให้มีการแสดงความคิดที่แตกต่างได้อย่างเปิดเผย โดยปราศจากภัยคุกคามและความกลัวต่างหาก ที่จะช่วยนำสังคมไทยฝ่าออกไปจากวิกฤติในขณะนี้ได้
ด้วยความเคารพต่อสิทธิ เสรีภาพ และความยุติธรรม
เครือข่ายสันติประชาธรรม
เครือข่ายสันติประชาธรรม
- กฤตยา อาชวนิจกุล สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
- ศรีประภา เพชรมีศรี ศูนย์สิทธิมนุษยชนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
- ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ธงชัย วินิจจะกูล ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-เมดิสัน
- พวงทอง ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- เวียงรัฐ เนติโพธิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- จักรกริช สังขมณี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- เกษม เพ็ญภินันท์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- นฤมล ทับจุมพล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ภูมิอินทร์ สิงห์ชวาลา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- เสาวนีย์ อเล๊กซานเดอร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบล
- ลักขณา ปันวิชัย นักเขียน
- บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- จีรพล เกตุจุมพล คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ธนาพล อิ๋วสกุล สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน
- กานต์ ทัศนภักดิ์ นักเขียน ช่างภาพ และคนทำงานศิลปะ
- นภัทร สาเศียร นิสิตปริญญาโท สาขาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- วันรัก สุวรรณวัฒนา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- อภิชาต สถิตนิรมัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ไอดา อรุณวงศ์ สำนักพิมพ์อ่าน
- เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว ศูนย์สิทธิมนุษยชนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
- วิภา ดาวมณี คณะกรรมการรับข้อมูลและสืบพยานเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519
- สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ คณะสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- เชษฐา พวงหัตถ์ ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- อาดาดล อิงคะวณิช มหาวิทยาลัยเว็สต์มินสเตอร์
- บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- อรอนงค์ ทิพย์พิมล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- นวลน้อย ตรีรัตน์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ดาริน อินทร์เหมือน สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน
- ชาตรี ประกิตนนทการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาศิลปากร
- มุกหอม วงษ์เทศ นักเขียน
- รักนิรันดร์ วรรณวีรพงษ์
- ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์
- อัจฉรา รักยุติธรรม คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- นิรมล ยุวนบุณย์
- นายพันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ
- เยาวลักษ์ อนุพันธุ์ ทนายความ
- ชญานิน เตียงพิทยากร
- อุเชนทร์ เชียงเสน
- ชาตรี สมนึก
- วิทยา พันธ์พานิชย์
- พิภพ อุดมอิทธิพงศ์
- รุ่งรวี เฉลิมศรีภิญโญรัช International Crisis Group
- กิตติศักดิ์ สฤษดิสุข
- ธนศักดิ์ สายจำปา
- จอน อึ๊งภากรณ์
- ประจักษ์ ก้องกีรติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ยุกติ มุกดาวิจิตร คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
000000000000
จดหมายเปิดผนึก
(จากนักวิชาการด้านไทยศึกษาในต่างประเทศ)
(จากนักวิชาการด้านไทยศึกษาในต่างประเทศ)
ในนามของนักวิชาด้านไทยศึกษาซึ่งพำนักอยู่นอกประเทศไทย เราได้เฝ้าสังเกตการลิดรอนพื้นที่ของการแลกเปลี่ยนทางความคิดที่เกิดขึ้นเรื่อยมานับตั้งแต่เหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และมีความกังวลใจอย่างถึงที่สุด ทั้งนี้การคุกคามเสรีภาพของการคิดและการแสดงออกนี้ได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นนับตั้งแต่เหตุการณ์ความรุนแรงเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ดังตัวอย่างที่สำคัญ เช่น การจับกุมกักขัง ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศูนย์อำนวยการภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉินในเดือนเมษายน 2553 การตั้งข้อกล่าวหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพต่อนายใจ อึ๊งภากรณ์ และการดำเนินคดีต่อนางสาวจีรนุช เปรมชัยพร ผู้ดูแลเว็บไซต์ประชาไท
ตลอดช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นอีกผู้หนึ่งซึ่งถูกคุกคาม อันเนื่องมาจากการวิพากษ์วิจารณ์รัฐ สถาบันพระมหากษัตริย์และความสัมพันธ์ระหว่างสองสถาบันนี้ เราจึงต้องการที่จะแสดงออกซึ่งความห่วงใยอย่างที่สุดต่อกรณีนี้
การคุกคามที่มีต่อ ดร.สุธาชัย นายใจ นางสาวจีรนุช และ ดร.สมศักดิ์ เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นต่อประชาชนชาวไทยอีกจำนวนนับไม่ถ้วนนั้น เป็นลักษณะบ่งชี้ถึงการปฏิบัติอย่างกว้างขวางและหลายรูปแบบของรัฐ ซึ่งการกระทำเหล่านี้คุกคามต่อสิทธิเสรีภาพและอนาคตของประชาธิปไตยไทยอย่างรุนแรง สิ่งที่ชัดเจนในขณะนี้คือ ความขัดแย้งจะไม่มีทางหมดไปจากระบบการปกครองของไทย ไม่ว่ารัฐไทยจะเลือกใช้มาตรการจัดการที่รุนแรงเพียงใด ผู้ซึ่งอยู่ในอำนาจควรจะตระหนักได้แล้วว่าการอภิปรายและการวิพากษ์วิจารณ์เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อกระบวนการทางประชาธิปไตย ไม่ใช่ความจงรักภักดีอย่างไม่ลืมหูลืมตา
เราซึ่งมีชื่อด้านล่างนี้ขอแสดงจุดยืนเคียงข้างเพื่อนร่วมวิชาชีพจากเครือข่ายสันติประชาธรรม ขอเรียกร้องให้หยุดการข่มขู่คุกคามต่อดร.สมศักดิ์ และหยุดการปฏิบัติใดๆอันเป็นการลิดรอนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
- Dr.Michael K. Connors, La Trobe University
- Dr.Nancy Eberhardt, Knox College
- Dr.Nicholas Farrelly, Australian National University
- Dr.Arnika Fuhrmann, Hong Kong University
- Dr.Jim Glassman, University of British Columbia
- Dr.Tyrell Haberkorn, Australian National University
- Dr.Kevin Hewison, University of North Carolina-Chapel Hill
- Dr.CJ Hinke, Freedom Against Censorship Thailand
- Dr.Soren Ivarsson, University of Copenhagen
- Dr.Andrew Johnson, Sogang University
- Dr.Tomas Larsson, Cambridge University
- Dr.Charles Keyes, University of Washington
- Mr.Samson Lim, Cornell University
- Dr.Tamara Loos, Cornell University
- Dr.Mary Beth Mills, Colby College
- Ms.Nattakant Akarapongpisak, Australian National University
- Dr.Craig Reynolds, Australian National University
- Mr.Andrew Spooner, Nottingham Trent University
- Mr.Sing Suwannakij, University of Copenhagen
- Dr.Michelle Tan, Independent Scholar, USA
- Mr.Giles Ji Ungpakorn, Independent Scholar, UK
- Dr.Andrew Walker, Australian National University
- Dr.Thongchai Winichakul, University of Wisconsin-Madison
- Mr.Kritdikorn Wongswangpanich, Aberystwyth University
- Dr.Adadol Ingawanij, University of Wesminster, UK.
- Dr.Rachel V Harrison, University of London
000000000000
ขออย่าทวีความร้าวฉานในสังคม
ความขัดแย้งของสังคมไทยในช่วง 5-6 ปีมานี้ มีลักษณะที่แตกต่างไปจากช่วงอื่นๆอย่างชัดเจน กล่าวคือ เป็นความขัดแย้งที่ขยายวงไปยังทุกภาคส่วนและสังคมหน่วยต่างๆ ตั้งแต่ภายในครอบครัว กลุ่มอาชีพ หน่วยงาน ไปจนถึงสถาบันต่างๆ เช่น สถาบันยุติธรรม พรรคการเมือง การบริหารราชการ การบัญญัติกฎหมาย ฯลฯ ทั้งยังเป็นปฏิปักษ์ต่อกันโดยไม่มีแนวโน้มว่าจะลดราลง ความขัดแย้งในลักษณะเช่นนี้อาจเป็นเหตุก่อให้เกิดผลได้ทั้งทางบวกและทางลบ ทั้งนี้ขึ้นกับวิธีการแก้ไขความขัดแย้งนี้ในระยะสั้นและระยะยาว
กรณีการออกหมายจับ ดร. สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งกำลังเกิดขึ้นในวันเวลานี้นั้น เป็นดัชนีที่ชี้ให้เห็นถึง มรรควิธีในการจัดการความขัดแย้งอย่างไม่คำนึงถึงหลักวิชา ไม่ว่าจะในเชิงนิติศาสตร์ และสังคมศาสตร์สาขาต่างๆ ทั้งยังไม่เป็นไปตามหลักที่ถือปฏิบัติกันของประชาคมโลกสมัยปัจจุบัน ตั้งแต่ สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ไปจนถึงเสรีภาพในทางวิชาการ การแสดงความคิดเห็นโดยไม่ได้มีเจตนาให้ก่อการจลาจล หรือ มุ่งร้ายหมายชีวิตบุคคลหรือกลุ่มคนใดๆ
เป็นที่หวั่นเกรงว่า การดำเนินการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยการใช้อำนาจและกำลังที่ละเมิดศีลธรรมและนิติธรรมซึ่งสังคมไทยควรยึดถือโดยน้ำมือเจ้าหน้าที่ของรัฐและบุคคลบางกลุ่มบางฝ่ายที่อาจจะกำหนดอยู่เบื้องหลังนี้นั้นส่อถึงเจตนาที่ไม่บริสุทธิ์และไร้ความปรารถนาดีต่อการคลี่คลายความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ อันจะยิ่งทำให้ปัญหาที่สั่งสมอยู่แล้วทวีความรุนแรงขึ้น
ผู้มีรายนามท้ายนี้ ขอเสนอให้เจ้าหน้าที่ของรัฐและฝ่ายอื่นๆที่พยายามดำเนินการใส่ร้าย กล่าวหา ดร. สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ได้ล้มเลิกการคุกคามและความประสงค์ที่จะทำร้ายไม่ว่าจะทางกายภาพและทางจิตใจทั้งในกรณีนี้และอื่นๆที่อาจจะตามมา เช่น การถอดถอนประกันที่สาธารณชนรู้จักกันในนาม ‘แกนนำนปช.’ การออกหมายจับบุคคลต่างๆที่อาจมีการเตรียมการไว้ และการกระทำต่างๆนานาที่มิได้เอื้อต่อการประคับประคองการเปลี่ยนแปลงสังคมด้วยหลักสันติธรรม
วันที่ 24 เมษายน 2554
- ไชยันต์ รัชชกูล สถาบันศาสนา วัฒนธรรม และสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ
- สุชาติ เศรษฐมาลินี สถาบันศาสนา วัฒนธรรม และสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ
- ชาญชัย ชัยสุขโกศล ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล
- เอกรินทร์ ต่วนศิริ ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- งามศุกร์ รัตนเสถียร ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล
- ประทับจิต นีละไพจิตร นิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ใจสิริ วรธรรมเนียม ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล
- อธิษฐาน์ คงทรัพย์ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล
- เอกพันธ์ ปิณฑวณิช ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล
ที่มา : ประชาไท
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น