28 เมษายน 2554 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ หรือกรุงเทพโพลล์ ได้สำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้แรงงานภายใต้หัวข้อ “ผู้ใช้แรงงาน กับสิ่งที่ร้องขอในวันแรงงานแห่งชาติ” เนื่องในวาระวันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคม โดยเก็บข้อมูลจากผู้ใช้แรงงานในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 1,073 คน พบว่า ผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่ร้อยละ 91.1 ระบุว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในปัจจุบันไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ โดยค่าจ้างขั้นต่ำที่เพียงพอต่อการดำรงชีพเฉลี่ยควรอยู่ที่ 290 บาทต่อวัน
เมื่อสอบถามความเห็นเกี่ยวกับนโยบายค่าแรงขั้นต่ำที่ 2 พรรคใหญ่หาเสียงอยู่ในขณะนี้ พบว่า ในส่วนนโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำร้อยละ 25 ภายใน 2 ปีของพรรคประชาธิปัตย์นั้น ผู้ใช้แรงงานร้อยละ 57.9 ยังคงมองว่าการปรับค่าจ้างขั้นต่ำดังกล่าวยังคงไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพอยู่ดี และร้อยละ 63.7 ก็ยังไม่เชื่อว่านโยบายดังกล่าวจะทำได้จริง ในส่วนนโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวันของพรรคเพื่อไทย ผู้ใช้แรงงานร้อยละ 88.2 เห็นว่าค่าจ้างขั้นต่ำดังกล่าวเพียงพอต่อค่าครองชีพ และร้อยละ 54.0 เชื่อว่านโยบายดังกล่าวจะทำได้จริง เมื่อให้ผู้ใช้แรงงานเปรียบเทียบทั้ง 2 นโยบายพบว่า ผู้ใช้แรงงานร้อยละ 84.5 ชอบนโยบายของพรรคเพื่อไทยมากกว่า
สำหรับแนวคิดการจัดทำ "มาตรฐานฝีมือแรงงาน" ที่กำลังจะเกิดขึ้น ผู้ใช้แรงงานร้อยละ 53.3 เชื่อว่าจะช่วยยกระดับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำให้อยู่ในระดับที่ควรจะเป็นได้ ซึ่งการจัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานดังกล่าวผู้ใช้แรงงานร้อยละ 82.2 เชื่อว่าจะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของแรงงานโดยรวมเพิ่มขึ้น
ส่วนสิ่งที่ผู้ใช้แรงงานต้องการฝากบอกไปยังนายจ้าง/เจ้าของกิจการ มากที่สุดเนื่องในวันแรงงานแห่งชาติ คือ ต้องการให้ขึ้นค่าแรง โบนัส เบี้ยขยัน รวมถึงดูแลค่าจ้างให้เหมาะสมกับค่าครองชีพ (บางคนได้รับค่าจ้างต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ)และจ่ายค่าจ้างให้สอดคล้องกับงานที่ทำอยู่จริง (ร้อยละ 58.4)
ด้านสิ่งที่ต้องการร้องขอจากรัฐบาลให้เข้ามาดูแล พัฒนา และปรับปรุงแก้ไขมากที่สุด ได้แก่ เรื่องค่าแรง/ค่าจ้าง (ร้อยละ 45.1) รองลงมาต้องการให้ภาครัฐเข้ามาดูแลเรื่องสวัสดิการ(ร้อยละ 25.4) และเรื่องคุณภาพชีวิต (ร้อยละ 16.4)
รายละเอียดผลการสำรวจ
1. ค่าจ้างขั้นต่ำในปัจจุบันเพียงพอต่อการดำรงชีพหรือไม่ (ค่าจ้างขั้นต่ำพื้นที่ กทม. และปริมณฑล อยู่ที่ 215 บาทต่อวัน)
- เพียงพอ ร้อยละ 8.9
- ไม่เพียงพอ ร้อยละ 91.1
โดยคิดว่าค่าจ้างขั้นต่ำเฉลี่ยควรอยู่ที่ 290 บาทต่อวันจึงจะเพียงพอต่อการดำรงชีพ
2. ความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำที่ 2 พรรคใหญ่กำลังหาเสียงอยู่ในขณะนี้
นโยบาย | ความเพียงพอต่อการดำรงชีพ | การทำได้จริงของนโยบาย |
ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 25% ภายใน 2 ปี (พรรคประชาธิปัตย์) | เพียงพอต่อการดำรงชีพ ร้อยละ 42.1 ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ ร้อยละ 57.9 | เชื่อว่าจะทำได้จริง ร้อยละ 36.3 ไม่เชื่อว่าจะทำได้จริง ร้อยละ 63.7 |
ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เป็น 300 บาทต่อวัน (พรรคเพื่อไทย) | เพียงพอต่อการดำรงชีพ ร้อยละ 88.2 ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ ร้อยละ 11.8 | เชื่อว่าจะทำได้จริง ร้อยละ 54.0 ไม่เชื่อว่าจะทำได้จริง ร้อยละ 46.0 |
3. ความชอบในนโยบายค่าแรงขั้นต่ำของ 2 พรรคใหญ่
- ชอบนโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 25% ภายใน 2 ปี ของพรรคประชาธิปัตย์ มากกว่า ร้อยละ 15.5
- ชอบนโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวัน ของพรรคเพื่อไทย มากกว่า ร้อยละ 84.5
4. การจัดทำ "มาตรฐานฝีมือแรงงาน" ในอนาคตอันใกล้นี้จะช่วยยกระดับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำให้อยู่ในระดับที่ควรจะเป็นได้หรือไม่
- เชื่อว่าสามารถช่วยได้ ร้อยละ 53.3
- เชื่อว่าไม่สามารถช่วยได้ ร้อยละ 7.9
- ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจ/ตอบไม่ได้ ร้อยละ 38.8
5. การจัดทำ "มาตรฐานฝีมือแรงงาน" จะช่วยให้ประสิทธิภาพการทำงานของแรงงานโดยรวม เพิ่มขึ้นได้หรือไม่
- เชื่อว่าจะเพิ่มขึ้น ร้อยละ 82.2
- เชื่อว่าจะเหมือนเดิม ร้อยละ 16.3
- เชื่อว่าจะลดลง ร้อยละ 1.5
6. สิ่งที่ผู้ใช้แรงงานต้องการฝากบอกไปยังนายจ้าง/เจ้าของกิจการมากที่สุด เนื่องในวันแรงงานแห่งชาติ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
1. ขอขึ้นค่าแรง/ขอโบนัส/ขอเบี้ยขยัน/ดูแลค่าจ้างให้เหมาะสมกับค่าครองชีพ (บางคนได้รับค่าจ้างต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ)/จ่ายค่าจ้างให้สอดคล้องกับงานที่ทำอยู่จริง | ร้อยละ 58.4 |
2. ขอสวัสดิการที่เป็นธรรม ไม่ว่าจะเป็นประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ค่ารักษาพยาบาล รวมถึงเงินกู้สวัสดิการต่างๆ | ร้อยละ 20.6 |
3. ขอให้เอาใจใส่ลูกน้อง/ดูแลกันให้ดีกว่านี้/เอาใจเขามาใส่ใจเรา/รับฟังปัญหาของลูกน้อง/ให้ความเท่าเทียมและเป็นธรรมกับลูกน้อง | ร้อยละ 9.5 |
4. ขอให้ช่วยดูแลคุณภาพชีวิตของลูกจ้าง คือ ได้สิทธิหยุดวันหยุดในวันนักขัตฤกษ์ ไม่ควรทำงานเกินวันละ 9 ชั่วโมงโดยไม่ได้รับ OT และควรมีกิจกรรมท่องเที่ยวหรืองานเลี้ยงสังสรรค์บ้าง | ร้อยละ 6.9 |
5. อื่นๆ เช่น การพัฒนาฝีมือแรงงานและระบบงาน/ทำตามสัญญาที่ให้ไว้กับลูกจ้าง ความปลอดภัยในการทำงาน เป็นต้น | ร้อยละ 4.6 |
7. สิ่งที่ผู้ใช้แรงงานต้องการให้รัฐบาลเข้ามาดูแล/พัฒนา/ปรับปรุงแก้ไขมากที่สุด
- ค่าแรง/ค่าจ้าง ร้อยละ 45.1
- สวัสดิการ ร้อยละ 25.4
- การดูแลคุณภาพชีวิต ร้อยละ 16.4
- ความปลอดภัยในการทำงาน ร้อยละ 6.9
- การพัฒนาฝีมือแรงงาน ร้อยละ 2.7
- อื่นๆ (ระบุ) ให้นายจ้างปฎิบัติตามกฏหมายแรงงาน ร้อยละ 3.5
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
- เพื่อศึกษาความเพียงพอของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในปัจจุบันว่าเพียงพอต่อค่าครองชีพหรือไม่
- เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำของสองพรรคใหญ่
- เพื่อสำรวจสิ่งที่ผู้ใช้แรงงานร้องขอต่อนายจ้างและรัฐบาล
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างกับประชาชนผู้ใช้แรงงานอายุ 18 ปีขึ้น ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มพื้นที่เก็บข้อมูลในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัวได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,073 คน เป็นชายร้อยละ 52.0 และหญิงร้อยละ 48.0
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ± 4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีการรวบรวมข้อมูล
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุคำตอบเองโดยอิสระ (Open Form) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 22 - 24 เมษายน 2554
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 28 เมษายน 2554
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 28 เมษายน 2554
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน | ร้อยละ | |
เพศ | ||
ชาย | 558 | 52.0 |
หญิง | 515 | 48.0 |
รวม | 1,073 | 100.0 |
อายุ | ||
18 ปี – 25 ปี | 306 | 28.5 |
26 ปี – 35 ปี | 309 | 28.8 |
36 ปี – 45 ปี | 250 | 23.3 |
46 ปีขึ้นไป | 208 | 19.4 |
รวม | 1,073 | 100.0 |
การศึกษา | ||
ต่ำกว่าปริญญาตรี | 1,000 | 93.2 |
ปริญญาตรี | 72 | 6.7 |
สูงกว่าปริญญาตรี | 1 | 0.1 |
รวม | 1,073 | 100.0 |
อาชีพ (ผู้ใช้แรงงาน) | ||
โรงงานอุตสาหกรรม/กรรมกรก่อสร้าง | 119 | 11.1 |
รปภ./นักการภารโรง/คนขับรถ | 175 | 16.3 |
แม่บ้าน/คนสวน | 142 | 13.2 |
คนส่งเอกสาร/รับจ้างทั่วไป | 133 | 12.4 |
พนักงานบริการ/หมอนวดแผนโบราณ | 172 | 16.0 |
พนักงานขาย/พนักงานคิดเงิน | 197 | 18.4 |
ช่างไฟฟ้า/ช่างซ่อม | 82 | 7.6 |
อื่นๆ เช่น พี่เลี้ยงเด็ก/ซักรีด/พ่อครัว | 53 | 5.0 |
รวม | 1,073 | 100.0 |
รายได้ (บาทต่อวัน) | ||
ต่ำกว่า 215 บาท | 135 | 12.5 |
215 บาท (ค่าจ้างขั้นต่ำ) | 167 | 15.6 |
216 – 299 บาท | 383 | 35.7 |
300 บาทขึ้นไป | 388 | 36.2 |
รวม | 1,073 | 100.0 |
ที่มา : ประชาไท
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น