วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การเลือกตั้ง ๓ กรกฎาคม ในประเทศไทย มิใช่ธรรมดา

จรัล ดิษฐาอภิชัย
วันที่ ๓ กรกฎาคม นี้ จะมีการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นในประเทศไทย ดูเผยๆเหมือนเป็นการเลือกตั้งตามระบบประชาธิปไตยแต่คนที่ติดตามสถานการณ์ทางการเมืองไทยมาหลายปี ย่อมเห็นว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ไม่ธรรมดา เพราะมีลักษณะพิเศษ ๒ ประการ

ประการแรก เป็นการเลือกตั้งภายหลังรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะแห่งพรรคประชาธิปัตย์ปราบปรามการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.)หรือขบวนการคนเสื้อแดงที่ออกมาเรียกร้องให้ยุบสภา คืนอำนาจแก่ประชาชน อันยังผลให้มีคนเสียชีวิต ๙๒ คน บาดเจ็บเกือบ๒พันคน และถูกจับเกือบ๔ร้อยคนทั่วประเทศ การแข่งขันและการต่อสู้ในการเลือกตั้งจึงเป็นการต่อสู้ระหว่างพรรคประชาธิปัตย์มือปื้นเลือดกับพรรคเพื่อไทยพันธมิตรของคนเสื้อแดง

ประการที่สอง ในการเลือกตั้งครั้งนี้มีปรากฏการณ์ใหม่ที่ไม่เคยเกิดมาก่อนในทางการเมืองไทย คือพรรคเพื่อไทยตัดสินใจส่งนางสาวยิ่งลักษณ์ชินวัตร เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ อันดับ๑ ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าเป็นผู้ที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี และในช่วงรณรงค์หาเสียงมา ๒ สัปดาห์ ความนิยมต่อยิ่งลักษณ์สูงขึ้นทุกวัน โพลทุกโพลพบว่า พรรคเพื่อไทยและยิ่งลักษณะนำพรรคประชาธิปัตย์และอภิสิทธิ์หลายช่วงตัว แนวโน้มที่ประเทศไทยจะมีนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกค่อนข้างแน่นอน การเลือกตั้งทั่วไปในประเทศไทยครั้งนี้กำลังจะสร้างประวัติศาสตร์ใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับยุคสมัยแห่ศตวรรษที่ ๒๑ ยุคที่สตรีก้าวมาเป็นผู้นำทางการเมืองดังเกิดขึ้นในเยอรมัน ฟิลิปินส์ ชิลี อาเย็นตินา บราซิล ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม ที่ผู้คนทั่วไปทั้งคนไทยและต่างประเทศคาดหวัง ก็คือ การเลือกตั้งทั่วไป ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔ จะทำให้ วิกฤติทางการเมืองอันหนักหน่วงรุนแรงมา ๕ ปี คลี่คลายลงไปแค่ไหน วิกฤติดังกล่าวมาจากความขัดแย้งและการต่อสู้ระหว่างฝ่ายจงรักภักดีอำมาตยาธิปไตยที่มีสีเหลือง เป็นสัญลักษณ์ และฝ่ายประชาธิปไตยแห่งสีแดง ที่ยังขับเคี่ยวกันทุกแนวรบทั้งทางการเมืองสังคม และเศรษฐกิจ

สุดท้าย ผู้เขียนขอเรียกร้องต่อประชาคมโลกให้เพิ่มความสนใจการเลือกตั้งในประเทศไทย ส่งเสริมสนับสนุนให้การเลือกตั้งเสรีและยุติธรรม ให้ชนชั้นปกครองไทยเคารพการตัดสินใจของประชาชน ยอมรับผมการเลือกตั้ง ให้พรรคเสียงข้างมากตั้งรัฐบาล เช่นนี้ แล้วการเลือกตั้งทั่วไปจะทำให้ประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นอันย่อมมีผลทั้งในทางคุณค่าประชาธิปไตยและเอื้ออำนวยประโยชน์ทางเศรษฐกิจต่อประชาคมโลกมากขึ้นอีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น