วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การเลือกตั้ง ๓ กรกฎาคม ในประเทศไทย มิใช่ธรรมดา

จรัล ดิษฐาอภิชัย
วันที่ ๓ กรกฎาคม นี้ จะมีการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นในประเทศไทย ดูเผยๆเหมือนเป็นการเลือกตั้งตามระบบประชาธิปไตยแต่คนที่ติดตามสถานการณ์ทางการเมืองไทยมาหลายปี ย่อมเห็นว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ไม่ธรรมดา เพราะมีลักษณะพิเศษ ๒ ประการ

ประการแรก เป็นการเลือกตั้งภายหลังรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะแห่งพรรคประชาธิปัตย์ปราบปรามการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.)หรือขบวนการคนเสื้อแดงที่ออกมาเรียกร้องให้ยุบสภา คืนอำนาจแก่ประชาชน อันยังผลให้มีคนเสียชีวิต ๙๒ คน บาดเจ็บเกือบ๒พันคน และถูกจับเกือบ๔ร้อยคนทั่วประเทศ การแข่งขันและการต่อสู้ในการเลือกตั้งจึงเป็นการต่อสู้ระหว่างพรรคประชาธิปัตย์มือปื้นเลือดกับพรรคเพื่อไทยพันธมิตรของคนเสื้อแดง

ประการที่สอง ในการเลือกตั้งครั้งนี้มีปรากฏการณ์ใหม่ที่ไม่เคยเกิดมาก่อนในทางการเมืองไทย คือพรรคเพื่อไทยตัดสินใจส่งนางสาวยิ่งลักษณ์ชินวัตร เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ อันดับ๑ ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าเป็นผู้ที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี และในช่วงรณรงค์หาเสียงมา ๒ สัปดาห์ ความนิยมต่อยิ่งลักษณ์สูงขึ้นทุกวัน โพลทุกโพลพบว่า พรรคเพื่อไทยและยิ่งลักษณะนำพรรคประชาธิปัตย์และอภิสิทธิ์หลายช่วงตัว แนวโน้มที่ประเทศไทยจะมีนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกค่อนข้างแน่นอน การเลือกตั้งทั่วไปในประเทศไทยครั้งนี้กำลังจะสร้างประวัติศาสตร์ใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับยุคสมัยแห่ศตวรรษที่ ๒๑ ยุคที่สตรีก้าวมาเป็นผู้นำทางการเมืองดังเกิดขึ้นในเยอรมัน ฟิลิปินส์ ชิลี อาเย็นตินา บราซิล ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม ที่ผู้คนทั่วไปทั้งคนไทยและต่างประเทศคาดหวัง ก็คือ การเลือกตั้งทั่วไป ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔ จะทำให้ วิกฤติทางการเมืองอันหนักหน่วงรุนแรงมา ๕ ปี คลี่คลายลงไปแค่ไหน วิกฤติดังกล่าวมาจากความขัดแย้งและการต่อสู้ระหว่างฝ่ายจงรักภักดีอำมาตยาธิปไตยที่มีสีเหลือง เป็นสัญลักษณ์ และฝ่ายประชาธิปไตยแห่งสีแดง ที่ยังขับเคี่ยวกันทุกแนวรบทั้งทางการเมืองสังคม และเศรษฐกิจ

สุดท้าย ผู้เขียนขอเรียกร้องต่อประชาคมโลกให้เพิ่มความสนใจการเลือกตั้งในประเทศไทย ส่งเสริมสนับสนุนให้การเลือกตั้งเสรีและยุติธรรม ให้ชนชั้นปกครองไทยเคารพการตัดสินใจของประชาชน ยอมรับผมการเลือกตั้ง ให้พรรคเสียงข้างมากตั้งรัฐบาล เช่นนี้ แล้วการเลือกตั้งทั่วไปจะทำให้ประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นอันย่อมมีผลทั้งในทางคุณค่าประชาธิปไตยและเอื้ออำนวยประโยชน์ทางเศรษฐกิจต่อประชาคมโลกมากขึ้นอีกด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2554

นักวิชาการชี้ปมใหญ่สังคมไทย ไม่ยอมรับ “การเลือกตั้ง”


มูลนิธิคอนราดอเดนาวร์ ร่วมกับสถาบันศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย จัดเสวนาทางวิชาการ การเมืองไทยหลังการเลือกตั้ง: ฝ่าวิกฤต ฤา ซ้ำรอย “Dialogue on ‘The Role and Direction of Political Party in Thailand after 2011 Election’ ” ณ ห้องกมลทิพย์ โรงแรมสยามซิตี้ ถนนศรีอยุธยา ดำเนินรายการโดย จาตุรนต์ ฉายแสง ประธานสถาบันศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย, ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มธ. และ รศ.ดร.เอก ตั้งทรัพย์วัฒนา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เสวนา: บทบาทภาคประชาชนกับการพัฒนาประชาธิปไตย

มูลนิธิคอนราดอเดนาวร์ร่วมกับสถาบันศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย จัดเสวนาวิชาการหัวข้อ “บทบาทภาคประชาชนกับการพัฒนาประชาธิปไตย”เรื่องการเมืองไทยกับพรรคการเมือง ณ โรงแรมสยามซิตี้ ร่วมเสวนาโดย พีรพล พัฒนพีรเดช นายกเทศมนตรีนครขอนแก่น สุรพล สงฆ์รักษ์ สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ ประวิตร โรจนพฤกษ์ ผู้สื่อข่าวจากหนังสือพิมพ์ดอะ เนชั่น และศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ ดำเนินรายการโดย ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข จากประชาไท

สหภาพไทรอัมพ์ฯยื่นปรับสภาพการจ้างในรอบ 3 ปี

สหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯยื่นข้อเรียกร้องปรับสภาพการจ้าง 24 ข้อ ระบุเพื่อให้สอดรับกับสภาพสังคมในรอบ 3 ปี ด้านนายจ้างเปรยอาจมียื่นข้อเรียกร้องสวนกลับ ด้านสมาชิกสหภาพฯ แห่มอบดอกไม้ให้กำลังใจตัวแทน
สมาชิกสหภาพฯ มอบดอกไม้ของสมาชิกให้กับตัวแทนสหภาพฯ

ตัวแทนสหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทย ได้ยื่นข้อเรียกร้อง 24 ข้อ เพื่อปรับปรุงสภาพการจ้างงานในรอบ 3 ปี ต่อกรรมการผู้จัดการบริษัทไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยจำกัด ผู้ผลิตชุดชั้นในสตรียี่ห้อดัง "ไทรอัมพ์" ที่บริษัทดังกล่าว ต.บางเสาธง อ.บางเสาธง สมุทรปราการ

โดยนายประยูร วงศ์เล็ก ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ เป็นตัวแทนของทางบริษัทฯได้ออกมารับข้อเรียกร้องดังกล่าว พร้อมทั้งกล่าวกับตัวแทนสหภาพแรงงานฯ ว่า "จะพิจารณาดูว่าจะยื่นข้อเรียกร้องสวนหรือเปล่า"

คนงานจี้สมาคมสื่อฯแสดงท่าทีกรณีจับ "สมยศ" ในฐานะสื่อด้วยกัน

องค์การแรงงานเพื่อประชาธิปไตย ยื่นหนังสือนายกฯ จี้ปล่อยสมยศ พฤกษาเกษมสุข ชี้ผู้ถูกกล่าวหาต้องได้สิทธิประกันตัวตามกฎหมาย จากนั้น เดินทางไปสมาคมนักข่าวฯ ขอให้แสดงท่าทีต่อกรณีจับสมยศในฐานะสื่อคนหนึ่ง

หน้าทำเนียบรัฐบาล องค์การแรงงานเพื่อประชาธิปไตย นำโดยนายพรมมา ภูมิพันธ์ ประธานกลุ่มสหภาพแรงงานเครืออุตสาหกรรมเบอร์ล่า เดินทางมายื่นหนังสือถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อเรียกร้องให้นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ได้รับสิทธิในการประกันตัว หลังถูกกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) จับกุมตัวตั้งแต่เมื่อวันที่ 30 เม.ย.54 ด้วยข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นเวลาหนึ่งเดือนเต็ม

หนังสือดังกล่าวระบุว่า องค์การแรงงานเพื่อประชาธิปไตยเห็นว่าการกระทำดังกล่าวของรัฐเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของพลเมืองที่พึงได้รับ ผู้ถูกกล่าวหาทุกคนควรใต้รับสิทธิในการประกันตัวเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ ข้อเท็จจริงจากข้อกล่าวหาดังกล่าว ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 ในมาตรา 39 วรรค 2 “ในคดีอาญาต้องสันนิฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหา หรือจำเลยไม่มีความผิด” และวรรค 3 บัญญัติว่า “ก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้”
จากนั้น นายพันศักดิ์ เจริญ ผู้อำนวยการศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ทำเนียบรัฐบาลได้ออกมารับหนังสือและรับปากจะนำหนังสือและข้อเรียกร้องขององค์การแรงงานเพื่อประชาธิปไตยส่งถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี
ต่อมา องค์การแรงงานเพื่อประชาธิปไตยได้เดินทางไปยังสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เพื่อยื่นหนังสือต่อนายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯคนปัจจุบัน เพื่อเรียกร้องให้สมาคมนักข่าวฯ ออกมาแสดงท่าทีต่อกรณีดังกล่าวในฐานะที่นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข เป็นสื่อมวลชนคนหนึ่ง โดยมีนางสาวเทียมใจ ทองเมือง ผู้จัดการสมาคมฯ เป็นผู้ออกมารับหนังสือ

ภาพและข่าว : ประชาไท

"เพื่อไทย" ออกแถลงการณ์ไม่ร่วมงานกับ "ภูมิใจไทย"

"เพื่อไทย" ออกแถลงการณ์ลั่นไม่ร่วมงาน ไม่ตั้งรัฐบาลกับ "ภูมิใจไทย" เหตุมีอุดมการณ์และวิธีการทำงานต่างกันมาก

วันนี้พรรคเพื่อไทยได้ออกแถลงการณ์ ลงวันที่ 2 มิ.ย. 54 มีนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ ลงลายมือชื่อท้ายแถลงการณ์ มีรายละเอียดดังนี้

"ตามที่มีข่าวในสื่อมวลชนในทำนองว่า พรรคภูมิใจไทยและพรรคเพื่อไทยอาจร่วมทำงานการเมืองและร่วมกันจัดตั้งรัฐบาล ภายหลังการเลือกตั้งนั้นคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทยได้ประชุมปรึกษาหารือแล้ว ขอกราบเรียนว่า พรรคเพื่อไทยมีอุดมการณ์และวิธีการทำงานแตกต่างจากพรรคภูมิใจไทยเป็นอย่างมาก

ดังนั้น พรรคเพื่อไทยมีจุดยืนที่จะไม่ร่วมทำงานทางการเมืองและร่วมจัดตั้ง รัฐบาลกับพรรคภูมิใจไทยภายหลังการเลือกตั้งในครั้งนี้

(ลงลายมือชื่อ) (นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ) หัวหน้าพรรคเพื่อไทย 2 มิถุนายน 2554"

ยอดประชากรคนเล่น"เฟซบุ๊ค" พุ่งเป็นพันล้านคน "ไทย" ติดอันดับ "18"

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 2 มิ.ย.ว่า ยอดประชากรผู้ใช้เฟซบุ๊คในช่วงฤดูใบไม้ผลิปี 2012 จะเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 1,000 ล้านคน จากปัจจุบัน 700 ล้านคน โดยประเทศที่มีอัตราเติบโตของเฟซบุ๊คมากที่สดคือ บราซิล ซึ่งปัจจุบันมีประชากรเพิ่มการเล่นเฟซบุ๊คเป็นจำนวน 1.9 ล้าน ส่วนประเทศที่มีอัตราประชากรเล่นเฟซบุ๊คเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วรวมทั้งอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เม็กซิโก และอาร์เจนติน่า โดยยอดผู้เล่นเพิ่มขึ้นดังกล่าวเปรียบเทียบแล้วคิดเฉลี่ยเท่ากับมีผู้เล่นเฟซบุ๊คเพิ่มขึ้น 20 ล้านคนต่อเดือน


โดยสำหรับอันดับท๊อปเทนของประเทศมีประชากรเล่นเฟซบุ๊คอย่างขยายตัวรวดเร็ว ได้แก่ 1.บราซิล 2.อินโดนีเซีย 3.ฟิลิปปินส์ 4.เม็กซิโก 5.อาร์เจนติน่า 6.อินเดีย 7.โคลัมเบีย 8.อียิปต์ 9.ตุรกี 10 อังกฤษ


สำหรับประเทศไทยนั้น มีอัตราเติบโตการเล่นเฟซบุ๊ค อยู่ที่อันดับที่ 18 ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 9,516,120 คน หรือมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น 389,180 คน และเพิ่มขึ้นเท่ากับจำนวน 4.26 %  ส่วนอันดับ 19 ได้แก่ สเปน และอันดับ 20 ได้แก่ ญี่ปุ่น


ขณะที่สหรัฐนั้น ถือเป็นประเทศที่มีประชากรเล่นเฟซบุ๊คมากที่สุดของโลก หรือเป็นจำนวน 149 ล้านคน หรือเทียบเท่ากับครึ่งหนึ่งของประชากรทั่วประเทศ จำนวนนี้เป็นประชากรรัฐแคลิฟอร์เนียถึง 19 ล้านคน


การเพิ่มขึ้นของประชากรเฟซบุ๊คดังกล่าวเป็นสิ่งที่มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก เคยกล่าวไว้ก่อนหน้านี้แล้ว โดยกลางปีที่แล้ว เขาบอกว่า ไม่มีทางที่เฟซบุ๊คจะไม่มีสมาชิกเพิ่มขึ้นทะลุหลักหนึ่งล้านคน โดยยอดตัวเลขดังกล่าวเป็นปรากฎการณ์ที่จะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

วิวาทะ "ณัฐวุฒิ VS ชำนิ" แนวคิด "ปรองดอง" ที่ยังมาไม่ถึง